การสื่อสารอย่างไรให้งานสำเร็จ
ขอขอบคุณ ผศ.ดร.นิภา แก้วศรีงาม เป็นผู้ชี้นำให้ความรู้ค่ะ
การสื่อสารอย่างไรให้งานสำเร็จ จันทิมา เจริญผล เรียบเรียง
- กำหนดจุดประสงค์
กรณีที่ 1 ไม่บอกจุดประสงค์
ให้วาดรูปรูปหนึ่ง วาดสามเหลี่ยมหน้าจั่ว 1 รูป >>> วาดเส้นตรงจำนวน 3 เส้น ที่ขนานกัน ด้านข้างของ สามเหลี่ยมหน้าจั่ว ทั้ง 2 ข้าง >>> วาดวงกลมตรงกลางเล้นตรงทั้ง 2 ข้าง >>> ใส่หูกับภาพ >>>
ผลที่ได้ อาจจะไม่ใช่รูปสัตว์ เพราะความเข้าใจของคนเราต่างกัน
กรณีที่ 2 บอกจุดประสงค์ ต่อไปนี้เราจะมาวาดรูปแมว
ให้วาดรูปรูปหนึ่ง วาดสามเหลี่ยมหน้าจั่ว 1 รูป >>> วาดเส้นตรงจำนวน 3 เส้น ที่ขนานกัน ด้านข้างของ สามเหลี่ยมหน้าจั่ว ทั้ง 2 ข้าง >>> วาดวงกลมตรงกลางเล้นตรงทั้ง 2 ข้าง >>> ใส่หูกับภาพ >>>
ผลที่ได้ก็จะออกมาป็นรูปแมว
- มีวิธีการทำงานเข้าใจตรงกัน โดยมีลักษณะของการสื่อความ 1. การสื่อสารทางเดียว 2. การสื่อสารสองทาง
ในกรณีที่เราทำงานโดยไม่มีการประสานงาน ติดต่อสื่อสารสอบถามรายละเอียดของงานที่ทำมาอาจผิดจากวัตถุประสงค์ ในทางตรงกันข้าม หากมีการสอบถามรายละเอียดก็จะทำให้เราทำงานงานบบรรลุตามเป้าหมายด้สำเร็จได้ง่ายโดยไม่ต้องกลับมาแก้ไขให้เสียเวลา
การสื่อสารที่ไม่สื่อความหมาย อย่างเช่น การให้เพื่อนหยิบของ “แดงหยิบไอ้นั่นให้เราหน่อย” แดงอาจเข้าใจผิด แล้วหยิบ อย่างอื่นที่ไม่ใช่ของที่แดงต้องการ ดังนั้นในการสื่อสารควรจำเพาะเจาะจงใช้ภาษาที่สื่อความหมายไม่สองแง่สองงาม
การสื่อสารด้วยภาษา ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
A – ACCURACY = ความถูกต้อง
B – BRIEF = ย่อให้กระทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ
C – CLARITY = ความจ่างชัดเจน
D – DIRECT = ตรงประเด็นตรงคน
E – EASY = เข้าใจง่าย
F – FEDDBACK = ทวนกลับ
G – GOOD INFORMATION = คำพูดที่ดี เลือกที่จะพูด ไม่ต้องพูดทุกอย่างที่คิด
การใช้ภาษา เพื่อการอยู่ร่วมกันที่สำคัญควรมี EQ รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น เก็บและควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ ไม่สร้างความรำคาญให้ผู้อื่น โดยใช้กริยาหรือการส่งเสียงให้เพื่อนร่วมงานเกิดความรำคาญ ใช้พลังจากการรู้จักใช้อารมณ์ชี้นำความคิด และการกระทำ ให้กับผู้อื่น ตลอดจนแก้ไขความขัดแย้งในตัวเองให้ได้ก่อน
- I –You Language
- เข้าอกเข้าใจกันอย่างที่เป็น
- จูนอารมณ์
- สลับบทบาทกันบ้าง (เอาใจเขามาใส่ใจเรา)
- มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
- มีทางเลือก
- WIN – WIN