Archive for พฤษภาคม, 2011

กินกาแฟอย่างมีศิลป์ ถูกต้อง และอร่อย

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันอังคาร, พฤษภาคม 31, 2011

ไปร้านกาแฟ หลายคนคงประสบปัญหาแบบนี้ – งงมั้ย เครื่องปรุงหลายกระปุกเค้ามีไว้ทำไม? – แท่งๆไม้ กับพลาสติกใช้ทำอะไร? – เอสเปรสโซกินแบบไหน – คาปูชิโนกินแบบไหน – ทำไม คาราเมลแมกคิอาโต้ ต้องแยกนมกับกาแฟ – แพ้คาเฟอีน หมอสั่งห้ามกินกาแฟ ทำไงดี กาแฟเป้นเครื่องดื่มที่ให้ทั้งกลิ่นและรสชาติ เรามารู้จักวิธีการกินกาแฟแต่ละประเภท ให้ถูกวิธีกันเถอะ ____________________________________ เครื่องปรุงรสและกลิ่น แน่นอน เมื่อคุณได้กาแฟถ้วยโปรดมาแล้ว ถ้าร้านที่บริการตนเอง คุณก็จะถือถ้วยเดินมาตรงมุมเครื่องปรุง ซึ่งมีอะไรอยู่มากมาย ซึ่งมันจะมีอยู่แค่ไม่กี่อย่างหรอกครับ เรามาทำความรุ้จักกัน เครื่องปรุงรส – น้ำตาลทรายขาว  บางร้านมีเป็นก้อน บางร้านก็เป็นซอง เป็นสารให้ความหวานแบบบริสุทธิ์ ละลายง่าย ละลายเร็ว -น้ำตาลเกล็ดไม่ขัดสี สำหรับคนที่ชอบความหวานแบบค่อยๆละลาย ไม่นิยมคนให้ละลาย  เมื่อทานกาแฟหมดจะเหลือน้ำตาลก้นถ้วย ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นรสคาราเมล – บางร้านมีน้ำตาลทรายแดง เป็นน้ำตาลที่ไม่ได้ฟอกสี เป็นธรรมชาติที่สุด มีกลิ่นน้ำตาลไหม้ และกากน้ำตาลติดอยู่ อีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยา เช่น บำรุงกำลัง แก้ปวด เลือดไหลเวียนสะดวก [...]

ชีวิตนี้… อยู่อย่างไรให้มีความสุข

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันเสาร์, พฤษภาคม 28, 2011

เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ(perfectionist) เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงมีความหมาย เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้ชีวิต เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสทองของการพิสูจนความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือประจักษ์พยานว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดังใจหวัง เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์ เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบททดสอบว่าที่ “มารไม่มีบารมีไม่เกิด” เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม [...]

ทดสอบ Red5

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันศุกร์, พฤษภาคม 27, 2011

Red5 Real-time Multi-player gaming Multi-user video chat Stream Music/Audio Stream video Record Video Record Audio Broacast Live Streams to anyone with a flash client กำลังทำการทดสอบว่า V 1.0 มีอะไรบ้าง

SEO คืออะไร

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันศุกร์, พฤษภาคม 27, 2011

SEO มาจากคำว่า “Search Engine Optimization” หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เว็บไซต์ ปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดของผลการค้นหาผ่าน Search Engine ด้วย Search Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ ข้อมูล เนื้อหา บทความ สินค้าและบริการ ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ของเรา โดยรักษาให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดเสมอ (ปกติจะพยายามทำให้อยู่ในหน้าแรกของการค้นหา) ทำ SEO ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ ? คำตอบก็คือ การทำ SEO ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดลำดับโดย Search Engine แต่ถ้าค่าใช้จ่ายสำหรับการจ้างเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้เชี่ยวชาญนั้นในการทำ SEO นั้นต้องเสียแน่นอนครับ แล้วแต่ว่าจะมากน้อยเพียงใดตามข้อตกลง ถึงแม้คุณจะอยู่ในลำดับที่ 1 ในหน้าแรกก็ตาม แต่การทำ SEO นั้นจะต้องใช้ทักษะความรู้ ตลอดจนระยะเวลาในการทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับในหน้าแรก (โดยปกติหากมีทักษะอยู่แล้วไม่เกิน 6 เดือน) ทำไมเราต้องทำ SEO ? คำถามนี้อาจฟังดูแล้วธรรมดา แต่ในความรู้สึกผม ผมว่ามันไม่ธรรมดา การทำ [...]

ภาระหน้าที่งาน

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันพฤหัส, พฤษภาคม 19, 2011

1.ดูแล Website ที่ติดตั้วด้วย WordPress 1.1 http://www.blog.rmutt.ac.th 1.2 http://www.news.rmutt.ac.th 1.3 http://203.158.253.70 (ยังไม่มี Url ) 1.4 http://www.library.rmutt.ac.th 1.5 http://www.ict.rmutt.ac.th 1.6 http://www.usgp.rmutt.ac.th 1.7 http://www.lotus2010.rmutt.ac.th 1.8 http://www.gg.rmutt.ac.th 1.9 http://www.mtp.rmutt.ac.th 1.10 http://www.tlg.rmutt.ac.th 1.11 www.energy.rmutt.ac.th 1.12 http://www2.dl.rmutt.ac.th 1.13 http://www.het.rmutt.ac.th 1.14 http://m.rmutt.ac.th 1.15 http://www.physics.rmutt.ac.th 1.16 http://203.158.253.175  (ยังไม่มี URL รอการดำเนินการเพื่อเป็น Web ของ คณะเทคโนโลยี่การเกษตร) 1.17 http://203.158.253.69 

กุ้งเรนโบว์

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันพฤหัส, พฤษภาคม 19, 2011

            วันหนึ่งผมได้ไปเดินสวนจตุจักรแล้วสังเกตุเห็นว่ามีกุ้งตัวสีน้ำอมฟ้าสวยดี เลยถามพ่อค้าว่ากุ้งอะไรเค้าบอกกุ้งเรนโบว์ อะไรหว่ากุ้งเรนโบว์ เลยถามต่อว่าเลี้ยงไงเลี้ยงยากไหม พ่อค้าบอกเลี้ยงง่ายมากเลี้ยงในดูปลามังกรก็ได้ ผมดูจากขนาดตัวแล้วคงจะเป็นอาหารเจ้าปลามังกรซะมากกว่า ตัวประมาณนิ้วก้อยเอง คิดในใจมันสวยดีนะลองเอาไปเลี้ยงดีกว่าก็เลยซื้อมา5ตัว เป็นเงิน250บาท แพงเหมือนกันนะเอาตังไปชื้อกุ้งเผาคงจะอร่อยกว่าเยอะ ไหนๆๆก็ชื้อ มาแล้ว เริ่มเลี้ยงผมไม่กล้าเอาตัง 250บาทใส่ลงไปในตู้ปลามังกรแน่ๆๆ เลยเลี้ยงแยกตู้ แล้วก็หามราหลบให้กุ้งผมเลยเอาท่อ pvc มาตัดยาวสัก 3นิ้ว 5อันว่างลงไปในตู้ ผลคือกุ้งมันชอบแล้วได้เข้าไปหลบในท่อ pvc แล้วจะให้อาหาร มันยังไงดันลืมถามพ่อค้ามามันคงกินพวกเศษอาหารมั้งถ้าบอกว่าเลี้ยงในตู้ปลามังกรได้ เลยลองเอาปลาตัวเล็กๆๆมาหั่นเ้ป็นชิ้นเล็กๆๆแล้วลองทิ้งไว้ในตู้ ผลคือมันก็แย่งกันกินก็โอเคนะมันกินอาหารมันคงไม่ตายล่ะคงเลี้ยงง่ายจริงๆๆ พอดีที่บ้านผมพ่อเค้าเลี้ยงปลาแรดไว้ในบ่อเค้าจะชื้ออาหารยกกระสอบมา ผมเลยลองเอามาแช่น้ำไว้5-6เม็ดแช่ให้มันพองลองเอามือบีบๆๆดูให้มันอ่อนทั้งเม็ดถ้ามันพองได้ที่แล้วให้เราบีบให้มันแตกแต่ยังคงสภาพของเม็ดอาหารอยู่ เวลาเราใส่ลงในตู้กุ้งที่เราเลี้ยงมันจะจม ผมคือกุ้งชอบกินมาก โอเคไม่ต้องไปหาปลาให้มันกินแล้วผมเลี้ยงประมาณ 2อาทิตย์เช้าวันหนึ่งผมได้เห็นกุ้งนอนตายอยู่1ตัว อ้าวเป็นอะไรตายอ่ะลองเอาจับขึ้นมาดู เอ้ามันเปลือกกุ้ง อ๋อกุ้งมัน จะมีการสะสมอาหารแล้วสร้างเปลียกชั้นนอกแต่เมื่อถึงเวลาหนึ่งมันขยายขนาดมันมันจะทำงานลอกคราบเพื่อขยายขนาดตัวกุ้ง แต่ตัวมราลอกคราบแล้วใหญ่ขึ้นมามากเหมือนกันแล้วสีจะฟ้าสวยมาก ชอบๆๆสวยดี หลังจากนี้กุ่งแต่ละตัวก็ทยอย กันลอกคราบ 2-3อาทิตย์ลอกที แต่พอเลี้ยงมาประมาณ 3-4เดือนได้ มันมีตัวโตสุดอยู่2ตัวอีก3ตัวมันตัวเล็กกว่าก้ามก็เล็กกว่าน่าจะเป้นตัวเมียแน่เลย เลยสังเกตุเห็นว่าตัวใหญ่ก้ามมันก็ใหญ่ยังกับก้ามปูแล้วมีขีดสีส้มๆๆที่ก้ามด้วยตัวพู้แน่นอน เข้าเดือนที่5ตัวเล็ก3ตัวที่บอกมันเริ่มไข่ครับแรกเลยจะมีสีส้มๆๆพอผ่านไปสักระมาณ3-4อาทิตย์มันจะเดิมมีสีคล้ำขึ้นแสดงว่ามันใกล้จะเ้ป็นตัวอ่อนแล้ว มาวันหนึ่งผมก็เห็นว่ามี1ตัวลูกเริ่มออกมาแล้วตัวเล็กเกาะอยู่ตามตัวแม่มีตัวที่เดินตามพิ้นก็มี ผมกลัวว่าพ่อกุ้งจะกินลูกกุ้งผมเลยย้ายพ่อกุ้งทั้ง2ตัวที่มันตัวโตแล้วลงตู้ปลามังกรซะเลยแล้วหา ขอนไม้ลงไปว่างเพื่อเป็นที่หลบได้เวลาโดนปลามังกรไล่กัด แล้วที่นี้ผมจะเลี้ยงลูกกุ้งไงมันจะกินอะไรอ่ะ มันลงกินลูกไรได้มั้งเพราะมันออกมาก็ตัวโตอยู่ คอกแรกที่ออกมาประมาณสัก 20ตัวได้ ผมลองให้ลูกไรใส่ไปประมาณ1ช้อนชา [...]

จุดเริ่มต้นของการทำฟาร์มปลากัด

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันอังคาร, พฤษภาคม 17, 2011

                         ทานทุกคนคงจำได้ว่าเมื่อประมาณปี25245 ได้มีโครงการกองทุนหมู่บ้านผมได้เ้ข้าร่วมโครงการด้วยเงิน 10,000 บาท ผมได้นำเงินมาชื้อบ่อซีเมนกว้าง 80เซ็นติเมตร หรืิอที่เรารู้จักกันคือบ่อที่ใช้ทำส้วมชึมนั้นเอง ผมได้ชื้อมา 20บ่อ ราคาบ่อล่ะ 80บาท รวมราคา 1,600บาท  และได้สร้างบ่อปูน ยาว 8×3 เมตร แบ่งได้ 4 บ่อ 2X3 เป็นเงิน 5,000 บาท รวมผมใช้เงินไป 6,6000 บาท ยังเหลือชื้อพ่อแม่พันธุ์ อีกนิดหน่อย ก่อนผมจะทำฟาร์ม ผมได้ศึกษาและเลี้ยงปลามาตั้งแต่ อายุ 7ขวบ ผมชอบไปที่สวนจตุจักร ที่ตลาดนัดซันเดย์ ชอบไปคุยกับพวกพี่ๆๆขายปลาที่นั้น จริงคือถามเอาความรู้และประสบการณ์ การทำฟาร์มและเรื่องโรคของปลาและวิธีการแก้ปัญหาต่างๆๆ ผมได้นำ เงินที่เหลือไปชื้อพ่อแม่พันธุ์ ได้ปลากัดสายพันธุ์ ปลากัด half moon ปลากัด crowntail ปลาลูกหม้อ fancy ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาบอลลูน ตังหมดพอดี กลับถึงบ้าน ปัญหาอย่างแรกเลยนะครับปลาที่เราเอามาจะมาพ้รอมกับ [...]

ขั้นตอนในการทำน้ำเขียว (สาหร่ายคลอเรลลา) เพื่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันศุกร์, พฤษภาคม 13, 2011

คลอเรลลา (Chlorella sp.) เป็นสาหร่ายสีเขียวเซลล์เดียวขนาดเล็ก จัดว่าเป็นแพลงตอนพืช มีขนาด 2.5 -3.5 ไมโครเมตร มีโปรตีน 64.15 % ซึ่งสูงกว่าสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดอื่น จึงนิยมใช้เป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อนต่างๆ ซึ่งรวมถึงไรน้ำนางฟ้า ไรแดง ซึ่งสามารถนำไปใช้อนุบาลลูกปลาได้ดี ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงและอุปกรณ์เพาะที่ง่ายที่สุดมีดังนี้ครับ 1. เตรียมบ่อซีเมนต์เส้นผ่านศูนย์กลาง 100 ซม. ทำความสะอาดและตากบ่อไว้อย่างน้อย 1 วัน สำหรับผู้ที่มีพื้นที่ว่างเยอะๆหน่อย หรืออาจใช้ภาชนะอื่นๆ เช่น กะละมังใบใหญ่ๆ ความจุสัก 100-150 ลิตร ก็ได้ครับ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางแล้วก็คำนวนเอาเองได้ครับ  แต่ต้องคำนึงว่าต้องตากแดดตลอดนะครับ แบบหนาๆๆ หน่อยดีครับ แบบบางเดียวกรอบแตกหมด [spoiler]2. เติมน้ำให้ได้ความลึกซัก 20-25  เซนติเมตร หรือมีปริมาตร 150 ลิตร ถ้าใช้น้ำประปาให้แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืน ถ้าภาชนะเล็กก็กะเอาว่าเวลากวนน้ำแล้วน้ำไม่ล้นหก ถ้าน้ำลึกกว่านี้แสงจะส่องลงล่างไม่ได้มาก ข้างล่างจะตกตะกอน 3. เติมสูตรอาหารดังนี้ ยูเรีย 46-0-0 [...]

การเพาะเลี้ยง ไรน้ำนางฟ้า

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันศุกร์, พฤษภาคม 13, 2011

จากการสำรวจของ ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นท่านแรกที่ค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจ และเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำจืดเขตร้อนทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคใต้ จนกระทั่งปลายฤดูฝนในปี พ.ศ. 2536 ได้พบไรน้ำนางฟ้าเพศเมียแต่ไม่พบไรน้ำนางฟ้าเพศผู้ ต่อมาปี พ.ศ. 2541 ได้สำรวจพบไรน้ำนางฟ้าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นตัวเต็มวัย ทั้งยังได้จำแนกชนิดจากที่ในโลกมี 50-60 ชนิด ไรนางฟ้าที่พบในประเทศไทย มี 3 ชนิด ซึ่งทั้ง 3 ชนิด เป็นชนิดใหม่ของโลก และเป็นสัตว์น้ำประจำท้องถิ่นที่พบในประเทศไทยเท่านั้น

1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินทร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000) พบในจังหวัดหนองบัวลำภู มีลักษณะแตกต่างกับที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของโลก โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ลักษณะ ตัวใส หางแดง ตัวยาว 1.3-3.0 ซม. ตัวผู้มีหนวดยาว ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่บริเวณกลางตัวด้านท้อง ไข่กลมมีลวดลายคล้ายลูกตะกร้อ มีอยู่กระจายทั่วไปในประเทศไทย

2. ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002) ลักษณะ ตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวยาว 1.7-4.3 ซม. ตัวเมียมีสีเข้มกว่าตัวผู้ มีถุงไข่ 1 ถุง ไข่กลมคล้ายกับไข่ของไรน้ำนางฟ้าสิรินทร แต่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณสองเท่า

3. ไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis Sanoamuang & Saengphan, 2006)
พบที่จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ลักษณะ ตัวใส สีตัวบางครั้งเป็นสีฟ้าอ่อน หางสีแดง ตัวยาว 1.1-2.0 ซม. ตัวเมียมีไข่เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายปิรามิด (Tetrhedral eggs) เป็นชนิดที่หายากมาก ไรน้ำนางฟ้าสยามนอกจากพบในประเทศไทยยังพบในประเทศลาว

การเพาะพันธุ์ไรนางฟ้า

จากการศึกษาพบว่า ชนิดที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงคือ “ ไรน้ำนางฟ้าไทย ” เนื่องจากเป็นชนิดที่โตเร็วกว่าไรน้ำนางฟ้าชนิดอื่น ฟักเป็นตัวอ่อนเมื่ออายุราว 1 สัปดาห์ และวางไข่ครอกแรก จากนั้นวางไข่อีกทุก ๆ 27 ชั่วโมง ประมาณ 16 ครั้ง เฉลี่ยวางไข่ทั้งหมดประมาณ 6,000 ฟอง โดยจากการทดลองเลี้ยง น้ำ 1 ลิตร ต่อไรน้ำฯ 50 ตัว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ จะให้ผลผลิต 1.5-1.7 กก. เวลานี้สามารถเลี้ยงให้มีอัตรารอดตายกว่า 90% นอกจากนี้ยังพบว่าไรน้ำชนิดนี้มีโปรตีนสูงถึง 64-69% ขณะที่อาร์ทีเมียมีแค่ 56% เท่านั้น

สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว อินทรียวัตถุขนาดเล็ก รวมถึงแบคทีเรีย และเชื้อราที่อยู่ในน้ำ จึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่ยุ่งยากในการดูแล แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญพอตัวเหมือนกัน ส่วนด้านต้นทุนการเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงก็ไม่สูงนัก และสามารถเลี้ยงจนเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว สะดวกที่นำตัวเต็มวัยมาแช่แข็งส่งไปขายเป็นอาหารกุ้งกุลาดำที่มีการเพาะ เลี้ยงอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล และยังเป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม

ไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทย ยังสามารถเก็บได้ในสภาพแห้งเป็นระยะเวลานาน เหมาะที่จะนำไปเพาะฟักได้เอง ส่วนตัวเต็มวัยของไรน้ำนางฟ้า ก็สามารถใช้เป็นสัตว์ทดลองในการทดสอบคุณสมบัติของสารพิษต่าง ๆ ได้

st1\:*{behavior:url(#ieooui) }

วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้เพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า

1. ภาชนะ
1.1 บ่อซีเมนต์ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งสะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก
1.2 กะละมัง ขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
1.3 ถังพลาสติกสีดำ
1.4 บ่อดิน ขนาดที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ 0.5-1 ไร่ บ่อดินดีที่สุดเพราะไม่ต้องเติมอากาศ เป็นแบบธรรมชาติ ไม่ต้องให้ อาหารเสริม ไรน้ำนางฟ้าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพการเติมอากาศเป็นแบบ Air Water Link คือ ให้น้ำข้างล่างขึ้นมาข้างบน หรือใช้ หัวทรายหรือระบบกรองที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม
2. แสงแดด ไรน้ำนางฟ้าต้องการแสงแดดด้วย เพื่อช่วยในการสังเคราะห์อาหารของไรน้ำนางฟ้า สำหรับบ่อดินเป็นบ่อเปิดรับ แสงแดดได้ทั่วทั้งบ่อ หากสร้างโรงเรือนต้องให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วย โรงเรือนแบบเปิดในช่วงฤดูร้อน ควรทำหลังคามีสแลนคลุมบังพื้นที่ 50 % หากเป็นช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยมีแสงแดดจะเปิดสแลนออกให้ได้รับแสงแดด 100%
3. น้ำ มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการเลี้ยงเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป เช่น น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไรน้ำนางฟ้าไม่จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ราคารแพง น้ำประปาเหมาะสมที่สุด แต่ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน โดยเปิดน้ำประปาทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนเจือจางลง เพราะคลอรีนจะมีผลกระทบภายหลังการฟักตัวของไรน้ำนางฟ้า จากนั้นใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็นตัว เมื่อลูกไรน้ำนางฟ้ามีอายุ 10-12 ชั่วโมงต้องให้อาหาร มิฉะนั้นตัวอ่อนจะตาย

ไรน้ำนางฟ้ากินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียว (แพลงก์ตอนพืชประเภทคลอเรลล่า) ได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ฉะนั้นบ่อเพาะน้ำเขียวควรอยู่กลางแจ้ง ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเล็ก ควรมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า

การ ให้อาหารให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์ จากทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้ยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสีย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า

วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วัน จะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่ไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์สามารถเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน

ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า
1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม
2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี
3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก
4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ
5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ

ไรน้ำนางฟ้า เป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายกุ้ง คนพื้นบ้านเรียก แมงอ่อนช้อย แมงแงว แมงหางแดง และแมงน้ำฝน จัดอยู่ใน ไฟลัมอาร์โทรโปดา ไฟลัมย่อย ครัสเตเซีย คลาสแบรงคิโอโปดา อันดับอะนอสตราคา แต่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม จัดอยู่ในประเภทสัตว์โบราณ ลักษณะโดยทั่วไป ขนาดเล็ก ไม่มีเปลือก ตัวใส มีขาว่ายน้ำ 11 คู่ ในกุ้งมีเพียง 5 คู่ ลำตัวยาว 1.1 – 4.3 ซม. ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีพฤติกรรมว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงนำโบก พัดอาหารเข้าปาก บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่ที่มีก้านยาว 1 คู่ มีหนวด 2 คู่ ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงส้ม ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่ทางด้านท้อง หนวดคู่ที่ 2 ของ ตัวผู้เปลี่ยนแปลงไปใช้สหรับจับตัวเมียเวลาผสมพันธุ์ และใช้ในการจำแนกชนิด ไข่ที่ตัวเมียสร้างขึ้นจะพัฒนาให้มีเปลือกหนา เป็นการปรับตัวเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำชั่วคราว เช่น คลองข้างถนน นาข้าว และปลักควายที่มีน้ำขังเฉพาะหน้าฝนเท่านั้น สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ โปรโตซัว อินทรียสารและแพลงก์ตอนพืช ฤดูที่พบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ไข่มีเปลือกหนา เป็นซีส อยู่ในพื้นดินเมื่อฝนตกไข่ไรน้ำนางฟ้าได้รับน้ำฝนก็จะพัฒนาฟักเป็นตัวโดยจะ พบในบ่อเล็กบ่อน้อย ส่วนบ่อหรือบึงขนาดใหญ่จะไม่พบไรน้ำนางฟ้า ทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าได้ โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ น้ำสะอาด ในธรรมชาติภายหลังจากฝนตก 1 เดือนมีน้ำขัง ก็จะพบไรน้ำนางฟ้าในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากการสำรวจของ ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นท่านแรกที่ค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจ และเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำจืดเขตร้อนทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคใต้ จนกระทั่งปลายฤดูฝนในปี พ.ศ. 2536 ได้พบไรน้ำนางฟ้าเพศเมียแต่ไม่พบไรน้ำนางฟ้าเพศผู้ ต่อมาปี พ.ศ. 2541 ได้สำรวจพบไรน้ำนางฟ้าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นตัวเต็มวัย ทั้งยังได้จำแนกชนิดจากที่ในโลกมี 50-60 ชนิด ไรนางฟ้าที่พบในประเทศไทย มี 3 ชนิด ซึ่งทั้ง 3 ชนิด เป็นชนิดใหม่ของโลก และเป็นสัตว์น้ำประจำท้องถิ่นที่พบในประเทศไทยเท่านั้น

1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินทร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000) พบในจังหวัดหนองบัวลำภู มีลักษณะแตกต่างกับที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของโลก โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ลักษณะ ตัวใส หางแดง ตัวยาว 1.3-3.0 ซม. ตัวผู้มีหนวดยาว ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่บริเวณกลางตัวด้านท้อง ไข่กลมมีลวดลายคล้ายลูกตะกร้อ มีอยู่กระจายทั่วไปในประเทศไทย

2. ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002) ลักษณะ ตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวยาว 1.7-4.3 ซม. ตัวเมียมีสีเข้มกว่าตัวผู้ มีถุงไข่ 1 ถุง ไข่กลมคล้ายกับไข่ของไรน้ำนางฟ้าสิรินทร แต่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณสองเท่า

3. ไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis Sanoamuang & Saengphan, 2006)
พบที่จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ลักษณะ ตัวใส สีตัวบางครั้งเป็นสีฟ้าอ่อน หางสีแดง ตัวยาว 1.1-2.0 ซม. ตัวเมียมีไข่เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายปิรามิด (Tetrhedral eggs) เป็นชนิดที่หายากมาก ไรน้ำนางฟ้าสยามนอกจากพบในประเทศไทยยังพบในประเทศลาว

การเพาะพันธุ์ไรนางฟ้า

จากการศึกษาพบว่า ชนิดที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงคือ “ ไรน้ำนางฟ้าไทย ” เนื่องจากเป็นชนิดที่โตเร็วกว่าไรน้ำนางฟ้าชนิดอื่น ฟักเป็นตัวอ่อนเมื่ออายุราว 1 สัปดาห์ และวางไข่ครอกแรก จากนั้นวางไข่อีกทุก ๆ 27 ชั่วโมง ประมาณ 16 ครั้ง เฉลี่ยวางไข่ทั้งหมดประมาณ 6,000 ฟอง โดยจากการทดลองเลี้ยง น้ำ 1 ลิตร ต่อไรน้ำฯ 50 ตัว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ จะให้ผลผลิต 1.5-1.7 กก. เวลานี้สามารถเลี้ยงให้มีอัตรารอดตายกว่า 90% นอกจากนี้ยังพบว่าไรน้ำชนิดนี้มีโปรตีนสูงถึง 64-69% ขณะที่อาร์ทีเมียมีแค่ 56% เท่านั้น

สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว อินทรียวัตถุขนาดเล็ก รวมถึงแบคทีเรีย และเชื้อราที่อยู่ในน้ำ จึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่ยุ่งยากในการดูแล แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญพอตัวเหมือนกัน ส่วนด้านต้นทุนการเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงก็ไม่สูงนัก และสามารถเลี้ยงจนเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว สะดวกที่นำตัวเต็มวัยมาแช่แข็งส่งไปขายเป็นอาหารกุ้งกุลาดำที่มีการเพาะ เลี้ยงอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล และยังเป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม

ไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทย ยังสามารถเก็บได้ในสภาพแห้งเป็นระยะเวลานาน เหมาะที่จะนำไปเพาะฟักได้เอง ส่วนตัวเต็มวัยของไรน้ำนางฟ้า ก็สามารถใช้เป็นสัตว์ทดลองในการทดสอบคุณสมบัติของสารพิษต่าง ๆ ได้

วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้เพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า

1. ภาชนะ
1.1 บ่อซีเมนต์ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งสะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก
1.2 กะละมัง ขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
1.3 ถังพลาสติกสีดำ
1.4 บ่อดิน ขนาดที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ 0.5-1 ไร่ บ่อดินดีที่สุดเพราะไม่ต้องเติมอากาศ เป็นแบบธรรมชาติ ไม่ต้องให้ อาหารเสริม ไรน้ำนางฟ้าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพการเติมอากาศเป็นแบบ Air Water Link คือ ให้น้ำข้างล่างขึ้นมาข้างบน หรือใช้ หัวทรายหรือระบบกรองที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม
2. แสงแดด ไรน้ำนางฟ้าต้องการแสงแดดด้วย เพื่อช่วยในการสังเคราะห์อาหารของไรน้ำนางฟ้า สำหรับบ่อดินเป็นบ่อเปิดรับ แสงแดดได้ทั่วทั้งบ่อ หากสร้างโรงเรือนต้องให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วย โรงเรือนแบบเปิดในช่วงฤดูร้อน ควรทำหลังคามีสแลนคลุมบังพื้นที่ 50 % หากเป็นช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยมีแสงแดดจะเปิดสแลนออกให้ได้รับแสงแดด 100%
3. น้ำ มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการเลี้ยงเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป เช่น น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไรน้ำนางฟ้าไม่จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ราคารแพง น้ำประปาเหมาะสมที่สุด แต่ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน โดยเปิดน้ำประปาทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนเจือจางลง เพราะคลอรีนจะมีผลกระทบภายหลังการฟักตัวของไรน้ำนางฟ้า จากนั้นใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็นตัว เมื่อลูกไรน้ำนางฟ้ามีอายุ 10-12 ชั่วโมงต้องให้อาหาร มิฉะนั้นตัวอ่อนจะตาย

ไรน้ำนางฟ้ากินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียว (แพลงก์ตอนพืชประเภทคลอเรลล่า) ได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ฉะนั้นบ่อเพาะน้ำเขียวควรอยู่กลางแจ้ง ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเล็ก ควรมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า

การ ให้อาหารให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์ จากทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้ยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสีย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า

วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วัน จะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่ไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์สามารถเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน

ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า
1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม
2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี
3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก
4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ
5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ

ที่มาจาก:ศุนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปราจีนบุรี

ไรน้ำนางฟ้า

By สุเมธ ชวนชอบ - Last updated: วันพฤหัส, พฤษภาคม 12, 2011

ครั้งแรกในพื้นที่ทองผาภูมิตะวันตก…ค้นพบไรน้ำนางฟ้า “สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ของไทย” ไรน้ำนางฟ้า (fairy shrimp) เป็นสัตว์น้ำจืดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายกุ้ง ขณะมีชีวิตจะว่ายน้ำหงายท้องโดยใช้ขาว่ายกรรเชียงน้ำตลอดเวลา ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์น้ำที่คนอีสานรู้จักและรับประทานกันมานานแล้ว มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น แมงอ่อนช้อย แมงแงว แมงน้ำฝน หรือแมงหางแดง สามารถพบเห็นได้ตามแหล่งน้ำชั่วคราวต่างๆ เช่น นาข้าว บ่อน้ำข้างถนน แอ่งน้ำตามทุ่งนา เป็นต้น เมืองไทยเราสำรวจพบไรน้ำนางฟ้าหลายชนิด แต่มี 3 ชนิด ถูกรายงานว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก ได้แก่ ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang,Murugan, Weekers and Dumont, 2000) ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan and Murugan,2002) ไรน้ำนางฟ้าสยาม (Branchinella siamensis Saengphan and Sanoamuang) ซึ่งทั้ง 3 ชนิดเป็นไรน้ำนางฟ้าประจำถิ่นของไทย ปัจจุบันไรน้ำนางฟ้าได้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ของไทย ประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำมาเพาะเลี้ยง สามารถใช้ทดแทนอาร์ทีเมีย สัตว์น้ำเค็มที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละ [...]