มี.ค.
15
2018
0

เคยมั้ย? สืบค้นชื่อมหาวิทยาลัยเพื่อดูผลงานแต่ไม่พบ!!

เคยมั้ย? สืบค้นชื่อมหาวิทยาลัยเพื่อดูผลงานแต่ไม่พบ!! เราจะไม่เอ่ยชื่อฐานข้อมูล แต่เพราะฐานข้อมูลบางฐานฯ มีความสามารถในการสืบค้นแตกต่างกันไป บางฐานฯ แค่ใส่คำค้นที่ต้องการ ก็ขึ้นบทความมาเยอะแยะมากมาย แต่บางฐานก็ต้องใช้คำเชื่อม ใส่สัญลักษณ์ช่วย ถึงจะพบผลงาน อีกประการคือ เพราะการส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างเทศนั้น แต่ละสำนักพิมพ์มีแบบฟอร์มการใส่ข้อมูลที่แตกต่างกันไป  บางมหาวิทยาลัยอาจมีเป็นข้อกำหนดเป็นมาตราฐานในการใส่ข้อมูลให้ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานของท่าน จะไม่พลาดการค้นหา  เมื่อเวลาส่งบทความไปตีพิมพ์ เราสามารถที่จะใส่คำค้นที่บ่งบอกถึงหน่วยงานของตนเองได้ เพื่อช่วยในการค้นหาผลงานให้พบง่ายขี้น  ตัวอย่างเช่น

  1. ควรใช้อีเมล์มหาวิทยาลัยตนเอง  เช่น @rmutt ไม่ใช้อีเมล์ค่ายอื่นส่งบทความ
  2. ใส่อักษรย่อพ่วงท้ายเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นท้ายชื่อเต็มมหาวิทยาลัย หรือ ในส่วนอื่นที่พอจะใส่ได้ เช่น Rajamangala University of Technology Thanyaburi RMUTT

ทำไมถึงต้องใส่?
ตรงๆกันเลย เพราะต่างประเทศเขาไม่ได้รู้จักมหาวิทยาลัยของเรามากนัก ฉะนั้นถ้าเราจะส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ  นี่คงจะเป็นเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่พอจะช่วยได้

มี.ค.
17
2017
0

ทดลองใช้ฐานข้อมูล e-book

รีบมาอ่าน!! ก่อนจะหมดระยะเวลาการทดลองใช้งานนะคะ
หนังสืออิเล็คทรอนิกส์ภาษาไทยของสำนักพิมพ์ McGraw – Hill ประมาณ 95 ชื่อเรื่อง
และหนังสือสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประมาณ 35 ชื่อเรื่อง
เข้าใช้งานได้ที่ http://portal.igpublish.com/iglibrary
ทดลองใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. – 15 พ.ค. 60
ก.พ.
09
2016
0

สมัครใช้ฐานข้อมูล trunitin ไว้แต่ลืม password ทำไงดี!

มีหลายคนเข้ามาถามปัญหาว่าสมัครใช้ฐานข้อมูล trunitin ไว้แต่ลืม password ทำไงดี วันนี้มีขั้นตอนการแก้ปัญหามาฝากค่ะ แต่แน่ใจกันนะคะ ว่าลืมแค่ password ไม่ได้ลืม user ด้วย  ไม่พูดพร่ำทำเพลง แต่บอกไว้นิดหนึ่งค่ะว่า user ฐานข้อมูล trunitin จะใช้ email เป็น user เข้าใช้งาน และไม่สามารถใช้ email เดิมสมัครใช้ใหม่ได้ แต่ถ้าลืมจริงๆไปดูขั้นตอนกันดีกว่าค่ะ

**ลืม user เข้าใช้ Trunitin
ส่งข้อมูล ชื่อ-นามสกุล และคณะ เพื่อให้ admin ของมหาวิทยาลัยที่ดูแลฐานข้อมูล ช่วยตรวจสอบ user ว่ามีอยู่ในฐานข้อมูลมั้ย โดยส่งข้อมูลมาที่ elibrary@mail.rmutt.ac.th
**แต่หากลืม password เข้าใช้ Trunitin คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
เข้า www.library.rmutt.ac.th ภายใต้เมนู e-Resources เลือกฐานข้อมูล Trunitin คลิก link มาที่ เว็บไซต์ trunitin และทำการ login จะปรากฎดังภาพ
1. คลิก Reset Password

2. ใส่ Email  นามสกุล แล้วคลิก Next

3. ถ้าจำคำตอบเมื่อตอนสมัครใช้ turnitin ได้ให้ใส่คำตอบ (แล้วจะจำได้มั้ย?) หากไม่ได้ให้เลือก Forgot your answer?  และคลิก Next

4. ระบบจะส่งข้อความให้ยืนยันทาง Email

5. เปิด Email แล้วคลิกยืนยันข้อความที่คำว่า ” here ” ดังภาพ

6. ใส่ password ใหม่ที่ต้องการ 2 ครั้ง และคลิก Next

** password จำเป็นต้องมีทั้งตัวอักษรและตัวเลข

7. เสร็จตามขั้นตอน ลองกลับไป login เข้าระบบใช้งานได้เลย

เพิ่มเติม คู่มือการใช้งานฐานข้อมูล Trunitin

ก.พ.
17
2014
0

My Lib

บางทีภาพถ่ายที่ออกมาสวย

อาจไม่ต้องพึ่งกล้องราคาแพงเสมอไป…

แค่อยู่ที่มุมมอง มองทุกอย่างรอบตัวให้มีความสุข…

ภาพที่เราเห็นมันก็ออกมาสวยได้เหมือนกัน

ม.ค.
31
2014
0

อ๊ะๆๆ หุหุ รู้นะ copy ผลงานใครมา

เดี่๋ยวนี้เทคโนโลยีมันก้าวหน้าจนตามแทบไม่ทันกันแล้ว แต่เอ!!จริงๆเรื่องที่ผู้เขียน เขียนขึ้นวันนี้ก็ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่อะไรมากมายนัก ซึ่งก็มีมาได้ซักพักใหญ่ๆแล้ว แต่เพียงบางท่านก็อาจจะยังไม่ทราบก็เป็นได้ ดังนั้น วันนี้ผู้เขียนจึงขออนุญาต หยิบยกเรื่องที่บางท่านอาจจะรู้แล้ว อันนี้ก็ต้องขออภัย แต่เพื่อประโยชน์สำหรับบางท่านที่อาจจะยังไม่รู้ ก็หวังว่าสิ่งที่ผู้เขียน เขียนขึ้นวันนี้อาจจะมีประโยชน์ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ซึ่งเทคโนโลยีที่ว่าคือ โปรแกรมตรวจสอบผลงานเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเจ้าเโปรแกรมตัวนี้ล่ะ มันจะสามารถตรวจสอบผลงานของเราได้ว่า แอบไปก๊อบปี้ ผลงานของใครเค้ามา หรือเปล่า เห่อๆ ซึ่งหลายๆมหาวิทยาลัย เค้าก็เริ่มใช้กันแล้ว  อีกหนึ่งฐานข้อมูลที่ช่วยในการตรวจสอบผลงาน เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมหาวิทยาลัยของเราก็ได้บอกรับและเป็นสมาชิกมาซักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อรองรับการให้บริการแก่ผู้ใช้ทั้งอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีทุกคน ฐานข้อมูลที่ช่วยในการตรวจสอบผลงานนั้นมีชื่อว่า ฐานข้อมูล Turnitin ซึ่งหลักการทำงานก็ทำหน้าที่เหมือนกัน สามารถตรวจสอบได้ว่า ไปคัดลอกผลงานวิชาการจากแหล่งไหนกันมาบ้าง โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การคัดลอกออกมาให้กันเลยทีเดียว  นอกจากนั้นฐานข้อมูลนี้ยังมีฟังก์ชั่นที่อาจารย์สามารถใช้สร้าง class ไว้สำหรับให้นักศึกษาไว้ส่งผลงานมาให้อาจารย์เพื่อตรวจสอบได้โดยตรงด้วย เป็นไงกันบ้าง เริ่มต้องระมัดระวังกับการเขียนผลงานกันมากขึ้นแล้วนะคะ ซึ่งหากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปใช้งานได้ที่เว็บไซต์ห้องสมุด www.library.rmutt.ac.th แล้วเลือกดูรายละเอียดได้ที่ ฐานข้อมูล Turnitin หรือ สามารถติดต่อเพื่อขอรับการแนะนำได้ที่ชั้น3 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือหากไม่สะดวกที่จะมาติดต่อเอง ก็สามารถส่งผลงานมาเพื่อให้ช่วยตรวจสอบ ก็ยินดีให้บริการเช่นกันค่ะที่ elibrary@mail.rmutt.ac.th

ก.ค.
12
2013
0

Dragon Dictation แปลง “เสียง” เป็น “คำ”

สำหรับใครที่ใช้ iPhone หรือ  iPad มีแอพพลิเคชั่นดีๆมานำเสนอ เจ้าแอพที่ว่านี่คือแอพ “Dragon Dictation” แปลง “เสียง” เป็น “คำ” เป็นแอพที่เมื่อเราอัดเสียงใส่ลงไปแล้ว เสียงที่อัดจะถูกถอดรหัสมาเป็นตัวอักษร  พูดง่ายๆ คือเหมือนกับถอดเทป โดยที่เราไม่ต้องมานั่งพิมพ์ หรือมานั่งกดฟังย้อนหลังให้เหนื่อย เพราะเจ้าแอพตัวนี้มันถอดรหัสมาเป็นตัวอักษรให้เราเลย  และที่สำคัญมันรองรับ ภาษาไทยคับพี่น้อง แต่กระนั้นก็ต้องไปลองโหลดแอพนี้มาลองเล่นกันดูนะจ๊ะ เผื่อจะมีประโยชน์กับใครหลายๆคน  ส่วนสาวก android ก็ต้องรอกันไปก่อนนะจ๊ะ  ข้อมูลจาก : iQNewclip

Powered by WordPress | Theme: Siteslike