มี.ค.
15
2018
0

เคยมั้ย? สืบค้นชื่อมหาวิทยาลัยเพื่อดูผลงานแต่ไม่พบ!!

เคยมั้ย? สืบค้นชื่อมหาวิทยาลัยเพื่อดูผลงานแต่ไม่พบ!! เราจะไม่เอ่ยชื่อฐานข้อมูล แต่เพราะฐานข้อมูลบางฐานฯ มีความสามารถในการสืบค้นแตกต่างกันไป บางฐานฯ แค่ใส่คำค้นที่ต้องการ ก็ขึ้นบทความมาเยอะแยะมากมาย แต่บางฐานก็ต้องใช้คำเชื่อม ใส่สัญลักษณ์ช่วย ถึงจะพบผลงาน อีกประการคือ เพราะการส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างเทศนั้น แต่ละสำนักพิมพ์มีแบบฟอร์มการใส่ข้อมูลที่แตกต่างกันไป  บางมหาวิทยาลัยอาจมีเป็นข้อกำหนดเป็นมาตราฐานในการใส่ข้อมูลให้ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานของท่าน จะไม่พลาดการค้นหา  เมื่อเวลาส่งบทความไปตีพิมพ์ เราสามารถที่จะใส่คำค้นที่บ่งบอกถึงหน่วยงานของตนเองได้ เพื่อช่วยในการค้นหาผลงานให้พบง่ายขี้น  ตัวอย่างเช่น

  1. ควรใช้อีเมล์มหาวิทยาลัยตนเอง  เช่น @rmutt ไม่ใช้อีเมล์ค่ายอื่นส่งบทความ
  2. ใส่อักษรย่อพ่วงท้ายเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นท้ายชื่อเต็มมหาวิทยาลัย หรือ ในส่วนอื่นที่พอจะใส่ได้ เช่น Rajamangala University of Technology Thanyaburi RMUTT

ทำไมถึงต้องใส่?
ตรงๆกันเลย เพราะต่างประเทศเขาไม่ได้รู้จักมหาวิทยาลัยของเรามากนัก ฉะนั้นถ้าเราจะส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ  นี่คงจะเป็นเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่พอจะช่วยได้

ม.ค.
31
2014
0

อ๊ะๆๆ หุหุ รู้นะ copy ผลงานใครมา

เดี่๋ยวนี้เทคโนโลยีมันก้าวหน้าจนตามแทบไม่ทันกันแล้ว แต่เอ!!จริงๆเรื่องที่ผู้เขียน เขียนขึ้นวันนี้ก็ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่อะไรมากมายนัก ซึ่งก็มีมาได้ซักพักใหญ่ๆแล้ว แต่เพียงบางท่านก็อาจจะยังไม่ทราบก็เป็นได้ ดังนั้น วันนี้ผู้เขียนจึงขออนุญาต หยิบยกเรื่องที่บางท่านอาจจะรู้แล้ว อันนี้ก็ต้องขออภัย แต่เพื่อประโยชน์สำหรับบางท่านที่อาจจะยังไม่รู้ ก็หวังว่าสิ่งที่ผู้เขียน เขียนขึ้นวันนี้อาจจะมีประโยชน์ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ซึ่งเทคโนโลยีที่ว่าคือ โปรแกรมตรวจสอบผลงานเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเจ้าเโปรแกรมตัวนี้ล่ะ มันจะสามารถตรวจสอบผลงานของเราได้ว่า แอบไปก๊อบปี้ ผลงานของใครเค้ามา หรือเปล่า เห่อๆ ซึ่งหลายๆมหาวิทยาลัย เค้าก็เริ่มใช้กันแล้ว  อีกหนึ่งฐานข้อมูลที่ช่วยในการตรวจสอบผลงาน เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมหาวิทยาลัยของเราก็ได้บอกรับและเป็นสมาชิกมาซักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อรองรับการให้บริการแก่ผู้ใช้ทั้งอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีทุกคน ฐานข้อมูลที่ช่วยในการตรวจสอบผลงานนั้นมีชื่อว่า ฐานข้อมูล Turnitin ซึ่งหลักการทำงานก็ทำหน้าที่เหมือนกัน สามารถตรวจสอบได้ว่า ไปคัดลอกผลงานวิชาการจากแหล่งไหนกันมาบ้าง โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การคัดลอกออกมาให้กันเลยทีเดียว  นอกจากนั้นฐานข้อมูลนี้ยังมีฟังก์ชั่นที่อาจารย์สามารถใช้สร้าง class ไว้สำหรับให้นักศึกษาไว้ส่งผลงานมาให้อาจารย์เพื่อตรวจสอบได้โดยตรงด้วย เป็นไงกันบ้าง เริ่มต้องระมัดระวังกับการเขียนผลงานกันมากขึ้นแล้วนะคะ ซึ่งหากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปใช้งานได้ที่เว็บไซต์ห้องสมุด www.library.rmutt.ac.th แล้วเลือกดูรายละเอียดได้ที่ ฐานข้อมูล Turnitin หรือ สามารถติดต่อเพื่อขอรับการแนะนำได้ที่ชั้น3 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือหากไม่สะดวกที่จะมาติดต่อเอง ก็สามารถส่งผลงานมาเพื่อให้ช่วยตรวจสอบ ก็ยินดีให้บริการเช่นกันค่ะที่ elibrary@mail.rmutt.ac.th

เม.ย.
26
2013
0

มาสืบค้นข้อมูลของประเทศต่างๆ ให้รู้ลึก รู้จริง จากฐานข้อมูล Britannica

ฐานข้อมูล Britannica หรือฐานข้อมูลสารานุกรมออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งการเตรียมพร้อม ในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับใครๆ ที่ต้องการจะหาข้อมูลมาทำวิจัย หรือหาความรู้เพื่อเพิ่มพูนปัญญากัน  ซึ่งบางครั้งไปตามแหล่งวิชาการต่างๆแล้ว ยังไม่มีข้อมูลมากพอ หรือเก่าเกินไป จะสืบค้นใน google ก็แทบจะเรียกว่ามีแต่ ข้อมูลขยะ แบบว่าเยอะเกิ๊น จะหาที่ใช้ที่อ้างอิงแบบน่าเชื่อถือได้นั้น แทบต้องเค้น ต้องอ่านกันจนตาลายกันเลยทีเดียว วันนี้ผู้เขียน ขอแนะนำแหล่งข้อมูล อย่างฐานข้อมูลสารานุกรมออนไลน์ Britannica ที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมายและสามารถนำไปใช้อ้างอิง ที่มีความน่าเชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล มีการอัพเดทข้อมูลแบบสม่ำเสมอให้เราได้สืบค้นอย่างเมามัน และต่อเนื่องเพราะมีบทความต่างๆ ที่แทบจะทุกสหสาขาวิชา ให้ได้สืบค้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดกันด้วยอ่ะนะ  ลองเข้ามาทดลองใช้กันดูเพราะจะหมดระยะเวลาการทดลองเร็วๆนี้กันแล้ว ที่นี่

ลองมาดูเครื่องมือในฐานข้อมูลสารานุกรมออนไลน์ Britannica ที่จะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้น   ดังรูปต่อไปนี้

(เพิ่มเติม…)

Powered by WordPress | Theme: Siteslike