การพัฒนาห้องสมุดสู่สากล (Library Development Towards Internationalization)

 
 วันที่   20-21 มีนาคม 2556
สถานที่    โรงแรมแอมบาสชาเดอร์  กรุงเทพมหานคร
หน่วยงานที่จัด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

สรุปรายละเอียดการอบรม

                    ความร่วมมือทางด้านการศึกษากับประชาคมอาเซียน กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาต่อประชาคมอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการได้มีการเตรียมความพร้อมไว้หลายประการ ซึ่งในส่วนของห้องสมุดตามที่วิทยากรกล่าวนั้น จะเป็นการกล่าวถึงบทบาทของห้องสมุดในบริบทของอาเซียน ซึ่งสถาบันการศึกษานั้นต้องมีห้องสมุดไว้บรการนักเรียนนักศึกษา



การใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น EBSCO

วันที่    13  มีนาคม 2556          สถานที่    ห้องฝึกอบรมชั้น 2 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  หน่วยงานที่จัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

การเข้าใช้ฐานข้อมูล EBSCO สามารถใช้รหัสของมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าใช้งานภายนอกได้โดยไม่ต้องผ่าน VPN ซึ่งสามารถขอ user เพิ่มเติมได้กับทางบรรณารักษ์ เพื่อส่งข้อมูลให้บริษัทฯดำเนินการ เป็นเด็นการอบรมในครั้งนี้ทางบริษัทฯ เน้นการใช้งานในประโยชน์ของ Single Search ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทุกฐานที่มหาวิทยาลัยมี ทั้งที่บอกรับจาก สกอ. และที่ มหาวิทยาลัยซื้อเอง



ประชุมวิชาการเรื่อง เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่ (Live and Learn the Modern Library)

เป็นงานประชุมวิชาการที่จัดโดย ศูนย์วิทยทรัพยากร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในวันที่   28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556  ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ

รายละเอียดการอบรม

ความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อห้องสมุดยุคใหม่ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความคาดหวังของผู้บริการที่มีต่อห้องสมุดยุคใหม่ 3 เรื่อง คือ

1.คาดหวังอะไร

-          ต้องการให้ห้องสมุดเป็นยิ่งกว่าห้องสมุดโดยทั่วไป เช่น ผู้บุกเบิก แสวงหา นวัตกรรม เพื่อรองรับในการบริหารจัดการองค์ความรู้จากขุมพลังปัญญาที่ถูกต้อง สมบูรณ์ มีความหลากหลาย รวดเร็วในการเข้าถึง เพื่อสนองความต้องการในการการเรียนการสอนการวิจัย

2.ทำไมต้อง “ห้องสมุด”

-          ทำไมต้องเปลี่ยนห้องสมุดแบบเดิมเป็นห้องสมุดยุคใหม่ คือ เพื่อต้องการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ เนื่องจากสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก ผู้ใช้บริการมีความการหลากหลาย ทั้งการอ่าน โหลด โหวต แชร์ รวมถึงการสืบค้นที่พึ่งพา google มาก และการใช้งานส่วนใหญ่เข้าถึงจากฐานข้อมูลซึ่งเป็นการใช้งาน e-Book หรือ   e-Journals มากกว่าการเข้าใช้ที่สถานทีห้องสมุดจริง

3.ทำอย่างไร

-          จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นจะทำให้ห้องสมุดเป็นห้องสมุดยุคใหม่ ห้องสมุดที่มีชีวิตนั้น เราต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว มีศักยภาพในการสร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรม และการจัดกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีจิตวิญญาณในการให้บริการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม



การใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect 2012

แนะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมการใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect ในวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ที่อาคารฝึกอบรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยวิทยากรคือ คุณณัฐพล สีสุรักษ์ จากบริษัท ELSEVIER

ฐานข้อมูลนี้เป็นฐานข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์  รวบรวมหนังสือและวารสารทั่วทุกมุมโลก โดยคุณณัฐพล ได้กล่าวว่าหนังสือที่มีให้บริการมากกว่า 11,000 เล่ม (ใน 11,000 เล่มได้รวม major reference works, monograph และ series ไว้ด้วย) และวารสารสามารถเข้าถึงได้ 2,500 ฉบับ และยังกล่าวว่าฐานนี้เป็นฐานที่อยู่ในอันดับ 1 ใน 4 ของโลก ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเทคโนโลยี สามารถเข้าใช้งานทางด้านสายวิทย์และสายศิลป์



แนวทางการแก้ปัญหาการใช้งานโปรแกรม SPEEXX (CLT)

นักศึกษาหรือบุคลากรที่ไม่ทันได้สังเกตุตอนปิดโปรแกรม SPEEXX (CLT) อาจจะไม่ทราบว่าระบบได้ฟ้องเรื่องการขาดการเชื่อมต่อ ดังนั้นเราเลยขอรวบรวมปัญหาและข้อสังเกตให้ท่านได้ทราบในเบื้องต้นในการใช้งานโปรแกรม ดังนี้...คลิกดู แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้งาน CLT


ขอเชิญร่วมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”

การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”

จัดโดย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์

วันอังคารที่ 24  เมษายน 2555

เวลา 8.00 – 16.30  น.

ณ ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บรรยายโดย
รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล และ
รองศาสตราจารย์ ดร. พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์


ภาพประกอบการสัมมนา “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”



สาเหตุการเข้าใช้โปรแกรม CLT ไม่ได้

การเกิดปัญหาไม่สามารถเข้าใช้งาน  CLT (โปรแกรมภาษาอังกฤษ)

ในกรณีที่มาเล่นที่ชั้น 2 อาคารวิทยบริการ ทราบสาเหตุในเบื้องต้นนะคะ

นักศึกษาเข้าใช้งานแล้วในช่วงจังหวะที่กำลังเรียนโปรแกรมอยู่นั้น ระบบขาดการเชื่อมต่อกับ server แต่ในการใช้งานยังสามารถใช้งานต่อไปได้ไม่มีปัญหาอะไรเนื่องจากระบบอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้ เพราะหากเชื่อมต่อ server ได้ สามารถเข้าบทเรียนได้แล้ว และหว่างเรียนระบบอินเทอร์เน็ตขาดการเชื่อมต่อ ก็ยังสามารถเรียนได้ปกติ…แต่เมื่อไหร่ที่ปิดโปรแกรม ระบบจำเป็นต้องเชื่อมต่อ server เพื่อนำผลการเรียนไปเก็บไว้ แต่หากขาดการเชื่อมต่อ ระบบจะฟ้องเมื่อเราปิดโปรแกรม จะมี error ขึ้นมาเป็นตัวสีแดง

หากนักศึกษาปิดโปรแกรมโดยไม่สังเกต การเข้าใช้ครั้งถัดไปจะมีปัญหาไม่สามารถเข้าใช้งานได้ และข้อมูลที่ใช้งานล่าสุดจะหายไปเมื่อทำการ restart หรือปิดเครื่องไปก่อน และกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งจะไม่สามารถใช้งานได้ ถึงแม้จะกลับมา  synchronize ที่เครื่องเดิม

วิธีการแก้ไข

นักศึกษาจะต้องทำการ Login อีกครั้ง หลังจากปิดโปรแกรม เพื่อไปทำการคลิก synchronize  หรือตรวจสอบว่ามีคำว่า Please synchronize ขึ้นหรือไม่

เมื่อเข้าสู่หน้าจอปกติ (ไม่มีคำว่า synchronize) นักศึกษาจึงค่อยปิดบทเรียน

สังเกตุกันสักนิดเพื่อ ลดการเกิดปัญหาและรักษาเวลาที่ได้ในการเข้างานระบบของนักศึกษาเอง

ดูภาพประกอบและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่



ดาวโหลด e-book CRCNetbase ฟรี ผ่านมือถือ iPhone ipad

ขอแนะนำการให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีให้บริการ ซึ่งวันนี้จะแนะนำในส่วนของการใช้งานฐานข้อมูล e-book ของ CRC Netbase ซึ่งสำนักฯ ได้บอกรับมาตั้งแต่ปี 54 ที่ผ่านมา ซึ่งในการเข้าใช้งานผ่าน iPhone iPadแล้วกันนะคะ เดิมนั้นหากเปิดใช้งานผ่านเว็บปกติจะเปิดอ่านเอกสารได้เพียงแค่ 2 หน้าเท่านั้น แต่ในปี 55 นี้ได้มีการพัฒนาการอ่านผ่าน Mobile ขึ้นมาเพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการ และวันนี้ขอแนะำนำการเข้าใช้งานฐาน CRC Netbase ผ่านทาง iPad เพื่อเป็นตัวอย่างในการเข้าใช้งานเบื้องต้นก่อนนะคะ

เมื่อท่านเชื่อมต่อ Internet (หากท่านอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ให้เปิดใช้งาน VPN ก่อนคะ) ท่านสามารถเข้าใช้งาน CRC Netbase ผ่าน Safari โดยเข้าไปที่เว็บ ห้องสมุด มทร.ธัญบุรี

เพื่อไปที่เมนู “e-Book” และไปที่ฐาน CRC Netbase ก็จะเข้าหน้าจอสืบค้นแบบ Mobile อัตโนมัติ



มาดูวิธีแก้ปัญหาใช้ iTunes กับ PC เกิน 5 เครื่อง

สำหรับท่านผู้ใช้ iPhone และ iPad เชิญศึกษาขั้นตอนดีๆ ที่ได้อ่านเจอเทคนิคนี้จาก ARIP มา เป็นคำแนะนำที่ดีมาก มีประโยชน์จริง ๆ คะ

โดยปกติแล้วทาง Apple จะบังคับให้เราสามารถ Authorize บัญชีของ iTunes กับเครื่อง PC แต่ละเครื่องผ่านทาง iTunes ได้ เพื่อที่เราจะได้ให้สิทธิคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เข้ามาจัดการกับข้อมูล โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ Application ที่เราเคยซื้อไปแล้ว ซึ่งข้อกำหนดกับทาง Apple จะบังคับให้ Authorise ได้ไม่เกิน 5 เครื่องเท่านั้น ปัญหาก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป บางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น อาจมีการเปลี่ยนมือ มีการขาย หรือเสียหายขึ้น จนเราไม่สามารถเข้าไปยกเลิก ทำการ Deauthorise ได้โดยตรง แต่วันนี้ทางเออาร์ไอพี มีวิธีแก้ไข ดังนี้….



โปรแกรม EndNote

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 ได้มีโอกาสเข้าร่วมการรับฟังการใช้งาน EndNote โดยหัวเรื่องของตารางคื ดรงบการอบรมการใช้งานโปรแกรม EndNote
โปรแกรม EndNote เป็นโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในการจัดทำบรรณานุกรม โดย EndNote นั้น สามารถกำหนดรูแบบเองได้ และมีรูปแบบให้เลือกจัดการได้มากว่า EndNote Web เพราะ EndNote Web นั้น จะต้องใช้งานตามรูปแบบที่มีให้เท่านั้น
ในการจัดทำบรรณานุกรมโปรแกรม EndNote มีเครื่องมือในการจัดทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงอ้างอิงบทความในเนื้อหา และนำข้อมูลที่อ้างอิงในเนื้อหามาจัดทำบรรณานุกรมท้ายเล่มไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งในส่วนของการใช้ EndNote นั้น โดยสามารถใช้ฐานข้อมูลออไลน์บนเว็บฐานข้อมูลที่ให้บริการ หรือจากเว็บ OPAC ที่มีฟังก์ชั้นในการทำงานร่วมกับ EndNote ก็สามารถดึงบรรณานุกรมของหนังสือมาใส่ในรายงานเราได้
นอกจากดึงจากฐานข้อมูลแล้ว ใน EndNote x5 ที่อบรมนี้ เป็นตัวใหม่ที่เพิ่งผลิตมาได้ประมาณ 1 เดือน มีฟังก์ชั่นในการนำไฟล์ PDF ที่เราดาวน์โหลดไว้มานำเข้าโปรแกรม จากนั้นโปรแกรมก็จะสร้างบรรณานุกรมให้อัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ แต่มีข้อแม้ว่า PDF นั้นจะต้องเป็นไฟล์ที่จดรับเลข DOI ที่เป็นเลขทะเบียนประจำวารสารแต่ละเล่มเพื่อระบุความเป็นเจ้าของ เมื่อดึงไฟล์มาแล้วจะขึ้นรายการบรรณานุกรมมาให้ เป็นรายละเอียดแต่ละหัวข้อ เช่น ชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง ปีที่ดำเนินการ

รายละเอียด