ได้รับความรู้ในการเข้าร่วมอบรม “การเขียนหนังสือราชการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เข้าใจคำจำกัดความและเป้าประสงค์เป็นการถ่ายทอดข้อมูลทัศนคติจากผู้ส่งถึงผู้อ่านให้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ร่วมกัน”
หนังสือราชการต้องการมากกว่าส่งไปยังผู้รับหรือผู้อ่าน ต้องการให้เกิดความรู้สึกที่ดี และให้เกิดความยอมรับในการสื่อสาร ได้แก่ 1. เกิดความเข้าใจตรงกัน 2. เกิดความรู้สึกที่ดี และเกิดการยอมรับ เป็นไปในทางบวก (Positive Thinking) 3. มีประเด็น 4. มีการตีความ 5. เขียนที่ใช้คำที่น้อยที่สุดและได้ใจความครบ
หลักการเขียนหนังสือที่ดีขึ้นอยู่กับผู้เขียนหรือผู้สอนของแต่ละคน ว่ามีหลักประการใดแต่หลักที่ได้ถือปฏิบัติกันมาคือ 7 C ได้แก่ 1. Correct-ถูกต้อง 2.Clear-ชัดเจน 3.Confirm-รัดกุม 4.Concise-กะทัดรัด 5.Convince-โน้มน้าว 6.Confident-ความมั่นใจ 7. Credit -ความน่าเชื่อถือ
การเขียนหนังสือขอความอนุเคราะห์ภาคเอกชน ต้องมีการเขียนอย่างอ่อนน้อม ฝึกการเขียนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ
ประโยชน์ที่ได้รับ เกิดความรู้และความเข้าใจในหลักการเขียนหนังสือมากขึ้น และสามารถนำมาปรับใช้ในการเขียนหนังสือราชการ