ชัมบาลา:หนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ (Shambhala:The Sacred Path of the Warrior)

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2538  ผมไปเดินดูหนังสือ ที่ร้าน ในฟิวเจอร์พาร์ครังสิต มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เคยผ่านหู ผ่านตา มาบอกว่าเป็นหนังสือแนว ปรัชญา ชื่อก็เป็นภาษาที่ไม่คุ้นหูเท่าใดนัก   ชื่อ ชัมบาลา ผมรีบซื้อทันทีเมื่อ เห็นหนังสือวางอยู่ที่ชั้น จำได้ว่าเป็นร้าน ซีเอ็ด  หลังจากซื้อก็นำมานั่งอ่านที่ FOOD CENTER เพราะตอนนั้น ร้านกาแฟ ยังไม่ค่อยมี……… ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 ชั่วโมง รวดเดียวจบ ยิ่งอ่าน ยิ่งติด ย่ิงชอบ เพราะผู้แปล ใช้ภาษาที่ สวยงาม  อ่านแล้วได้แนวคิด แรงบันดาลใจ และความปิติ… (เสียดาย ที่ซื้อมาเก็บไว้แค่เล่มเดียว )

เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีไปไกล มี BLOG มี GOOGLE  ลอง SEARCH ดู มีผู้สรุปลงใน BLOG  http://www.oknation.net/blog/bai-tong/2008/02/17/entry-30 อ่านแล้วก็รู้สึกดี อีกครั้ง เลยเอามาแบ่งๆกันอ่าน สำหรับผู้สนใจ

ผู้เขียน คือ เชอเกียม ตรุงปะ ก็น่าสนใจมิใช่น้อย ผู้สนใจลอง search ใน GOOGLE ดูได้นะครับ ว่าน่าสนใจอย่างไร  สำนักพิมพ์ก็น่าสนใจ คือ มูลนิธิโกมล คีมทอง บวกกับผู้แปลคือ คุณพจนา จันทรสันติ นักอ่านทั้งหลายคงทราบว่า เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก

ตอนนี้ ยังเห็นว่าจะมีการสร้างหนังไทย เรื่อง ชัมบาลา อีกเห็นว่าผู้สร้างคือสหมงคลฯ อยากดูเหมือนกัน ว่าจะเป็นอย่างไร

อ่านไปอ่านมา รู้สึกว่า หนังสือเล่มนี้ พอเป็นแนวทางออกให้กับสังคมไทยได้บ้างเหมือนกัน


หนังสือ ชัมบาลา Shambhala : The Sacred Path of the Warrior   เขียนโดย เชอเกียม ตรุงปะ เขียน / พจนา จันทรสันติ แปล

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/bai-tong/2008/02/17/entry-30

เนื้อหากล่าวถึงความจริงแท้และความดีงามในตัวของปัจเจกบุคคล

ที่สามารถฝึกฝนตนให้สมบูรณ์พร้อมด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน มีชีวิตชีวา

จนเข้าถึงการดำรงอยู่อย่างแท้จริงและกว้างใหญ่ไพศาล

พร้อมกับให้หลักการปฏิบัติตนอย่างเป็นขั้นตอนจนถึงจุดหมาย

และให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมความเชื่อแต่โบราณของธิเบตด้วย

ท่านผู้ปราศจากจุดเริ่มต้นและไร้จุดจบ

ผู้ครอบครองความรุ่งโรจน์ของพยัคฆ์ ราชสีห์ ครุฑ และมังกร

ผู้ครอบครองความเชื่อมั่นอันเปี่ยมล้นเกินถ้อยคำ

ข้าขอกราบประณต ณ เบื้องบาทแห่งองค์จักรพรรดิริกเดน

ชัมบาลา (Shambhala)

หนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ

ภาคที่ 1 จะเป็นนักรบได้อย่างไร

จากกระจกเงาอันยิ่งใหญ่แห่งจักรวาล ซึ่งปราศจากจุดเริ่มต้นและไร้จุดจบ สังคมมนุษย์ก็เริ่มอุบัติขึ้นมา

ในครั้งนั้น การหลุดพ้นและความสับสนก็อุบัติขึ้นด้วย

เมื่อมีความกลัวและความสับสนสงสัยเกิดขึ้นกับความเชื่อมั่นซึ่งเป็นอิสระแต่ปฐมกาล ผู้คนอันขลาดเขลาจำนวนมากก็อุบัติขึ้น

เมื่อความเชื่อมั่นซึ่งเป็นอิสระแต่ปฐมกาล ได้รับการยอมรับและดำเนินตาม นักรบจำนวนมากก็อุบัติขึ้น

ผู้คนอันขลาดเขลามากมายเหล่านั้น พากันซ่อนตนอยู่ตามถ้ำเถื่อนพงไพร ฆ่าพี่ฆ่าน้องและกัดกินเนื้อกันเอง ต่างประพฤติเยี่ยงอย่างสัตว์ ต่างกระตุ้นเร้าความป่าเถื่อนในกันและกัน ต่างมีชีวิตอยู่เยี่ยงนี้

เขาหล่อเลี้ยงและสุมไฟแห่งความเกลียดชังไว้ เขาเกลือกกลิ้งอยู่ในโคลนตมแห่งความเกียจคร้าน

ยุคสมัยแห่งความอดอยากและโรคระบาดก็อุบัติขึ้น

สำหรับผู้ที่อุทิศตนแด่ความเชื่อมั่นแต่ปฐมกาล เหล่านักรบมากมายเหล่านั้นบ้างก็ขึ้นสู่ที่สูงบนภูเขา และสร้างปราสาทแก้วผลึกอันงดงามขึ้นที่นั่น

บ้างก็ไปสู่ดินแดนแห่งทะเลสาบและเกาะแก่งอันงดงาม และสถาปนาเวียงวังอันน่ารื่นรมย์ขึ้น

บ้างก็ลงสู่ที่ราบลุ่ม ทำการเกษตรเพาะปลูกข้าวเจ้า ข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลี ต่างอยู่ร่วมกันโดยไม่ทะเลาะเบาะแว้ง มีแต่ความรักใคร่และเอื้อเฟื้อแบ่งปัน โดยไม่ต้องมีใครกระตุ้นเตือน

ผ่านความลี้ลับสุดหยั่งถึงซึ่งดำรงอยู่ด้วยตนเอง เขาต่างอุทิศตนต่อจักรพรรดิริกเดน

ชัมบาลา (Shambhala)

หนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ

ภาคที่ 1 จะเป็นนักรบได้อย่างไร

จากกระจกเงาอันยิ่งใหญ่แห่งจักรวาล ซึ่งปราศจากจุดเริ่มต้นและไร้จุดจบ สังคมมนุษย์ก็เริ่มอุบัติขึ้นมา

ในครั้งนั้น การหลุดพ้นและความสับสนก็อุบัติขึ้นด้วย

เมื่อมีความกลัวและความสับสนสงสัยเกิดขึ้นกับความเชื่อมั่นซึ่งเป็นอิสระแต่ปฐมกาล ผู้คนอันขลาดเขลาจำนวนมากก็อุบัติขึ้น

เมื่อความเชื่อมั่นซึ่งเป็นอิสระแต่ปฐมกาล ได้รับการยอมรับและดำเนินตาม นักรบจำนวนมากก็อุบัติขึ้น

ผู้คนอันขลาดเขลามากมายเหล่านั้น พากันซ่อนตนอยู่ตามถ้ำเถื่อนพงไพร ฆ่าพี่ฆ่าน้องและกัดกินเนื้อกันเอง ต่างประพฤติเยี่ยงอย่างสัตว์ ต่างกระตุ้นเร้าความป่าเถื่อนในกันและกัน ต่างมีชีวิตอยู่เยี่ยงนี้

เขาหล่อเลี้ยงและสุมไฟแห่งความเกลียดชังไว้ เขาเกลือกกลิ้งอยู่ในโคลนตมแห่งความเกียจคร้าน

ยุคสมัยแห่งความอดอยากและโรคระบาดก็อุบัติขึ้น

สำหรับผู้ที่อุทิศตนแด่ความเชื่อมั่นแต่ปฐมกาล เหล่านักรบมากมายเหล่านั้นบ้างก็ขึ้นสู่ที่สูงบนภูเขา และสร้างปราสาทแก้วผลึกอันงดงามขึ้นที่นั่น

บ้างก็ไปสู่ดินแดนแห่งทะเลสาบและเกาะแก่งอันงดงาม และสถาปนาเวียงวังอันน่ารื่นรมย์ขึ้น

บ้างก็ลงสู่ที่ราบลุ่ม ทำการเกษตรเพาะปลูกข้าวเจ้า ข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลี ต่างอยู่ร่วมกันโดยไม่ทะเลาะเบาะแว้ง มีแต่ความรักใคร่และเอื้อเฟื้อแบ่งปัน โดยไม่ต้องมีใครกระตุ้นเตือน

ผ่านความลี้ลับสุดหยั่งถึงซึ่งดำรงอยู่ด้วยตนเอง เขาต่างอุทิศตนต่อจักรพรรดิริกเดน

บทที่ 1 สร้างสังคมอริยะ

“คำสอนของชัมบาลาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า มีปรีชาญาณอันเป็นรากฐานของมนุษย์อยู่ ซึ่งอาจช่วยคลี่คลายปัญหาทั้งหลายของโลกได้ ปรีชาญาณประการนี้มิได้เป็นสมบัติเฉพาะของวัฒนธรรมใดหรือลิทธิศาสนาใด ทั้งมิได้มาจากตะวันตกหรือตะวันออก ทว่ามันสืบสายวัฒนธรรมของนักรบอันเก่าแก่ ซึ่งดำรงอยู่ในกระแสวัฒนธรรมต่างๆ ตลอดช่วงกาลที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์”

บทที่ 2 ค้นหารากฐานแห่งความดีงาม

“อาศัยเพียงการหยุดตั้งมั่นลงตรงนั้น ชีวิตของคุณก็อาจกลายเป็นหนทาง และแม้กระทั่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทีเดียว คุณย่อมตระหนักได้ว่าคุณสามารถนั่งอยู่บนบัลลังก์ดุจราชันหรือราชินี ความสูงส่งของสภาวะนี้ ขานไขให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดจากการหยุดนิ่งและเรียบง่าย”

บทที่ 3 ใจเศร้าที่แท้จริง

“ผ่านการปฏิบัติโดยการนั่งนิ่งๆและเฝ้าติดตามลมหายใจขณะผ่อนออกและจางหายไป คุณก็ได้เชื่อมโยงเข้ากับหัวใจของตน โดยเพียงแต่ปล่อยให้เป็นไปดังที่ตนเองเป็นอยู่ คุณก็สามารถสร้างความรู้สึกเกื้อการุณย์อย่างแท้จริงขึ้นต่อตัวเองได้”

บทที่ 4 ความกลัวกับความไม่หวาดหวั่น

“การยอมรับถึงความกลัวใช่ว่าจะทำให้รู้สึกหดหู่หรือท้อแท้ เพราะด้วยเหตุที่เรามีความกลัวเช่นนี้อยู่เราจึงยังมีศักยภาพที่จะเข้าถึงความไม่หวาดหวั่นอยู่ด้วยในตัว ความไม่หวาดหวั่นที่แท้จริงนั้นมิใช่การลดทอนความกลัวลง แต่เป็นการขึ้นอยู่เหนือความกลัวนั้น”

บทที่ 5 ประสานจิตกับกาย

“การประสานจิตกับกายเข้าด้วยกันมิใช่เป็นเพียงความคิดหรือเป็นวิธีการอันไร้แบบแผน ที่ผู้ใดผู้หนึ่งคิดขึ้นมาเพื่อใช้ปรับปรุงตนเอง ทว่ามันคือหลักการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และการใช้ผัสสะ ใช้จิตและกายอย่างสอดคล้องกัน”

บทที่ 6 รุ่งอรุณแห่งอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่

“วิถีทางแห่งอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่มีพื้นฐานอยู่บนการแลเห็นว่า มีแหล่งกำเนิดแห่งแสงสว่างและประภารัศมีตามธรรมชาติอยู่ในโลกนี้ ซึ่งก็คือภาวะแห่งการตื่นขึ้น อันมีอยู่โดยกำเนิดของมนุษย์”

บทที่ 7 รังดักแด้

“หนทางของคนขลาด คือ การสานทอรังขึ้นมาห่อหุ้มตัวเองไว้ ภายในรังนั่นเอง ที่เราพยายามสืบต่อนิสัยใจคอเฉพาะตัวไว้ เมื่อเราสร้างรูปแบบพื้นฐานของนิสัยและความคิดขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา เมื่อนั้นเราก็ไม่มีทางผ่านพ้นออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ ออกมาสู่โลกภายนอกอันสดชื่นได้เลย”

บทที่ 8 การตัดทอนและความกล้า

“สิ่งที่นักรบต้องตัดทอนลงก็คือ สิ่งใดก็ตามในประสบการณ์ของเขา ซึ่งเป็นเครื่องกั้นขวางระหว่างตัวเขากับผู้อื่น กล่าวอีกนัยหนึ่ง การตัดทอนนี้กลับช่วยให้ตนสามารถขึ้น อ่อนโยนและเปิดกว้างต่อผู้อื่นมากยิ่งขึ้น”

บทที่ 9 เฉลิมฉลองการเดินทาง

“ความเป็นนักรบ คือการเดินทางอย่างต่อเนื่อง การเป็นนักรบ ก็คือ การเรียนรู้ที่จะเป็นจริงในทุกๆขณะของชีวิต”

บทที่ 10 ปล่อยให้เป็นไป

“เมื่อคุณใช้ชีวิตสอดคล้องกับความดีงามพื้นฐาน เมื่อนั้นคุณก็ได้สิ่งสมความผุดผ่องตามธรรมชาติขึ้น ชีวิตของคุณก็อาจว่างและผ่อนคลายโดยไม่จำเป็นต้องกลายเป็นคนมักง่าย คุณอาจปล่อยวางความรู้สึกกดดันหรือเคอะเขินในการที่ต้องเกิดมาเป็นมนุษย์และก็อาจรู้สึกมีกำลังใจขึ้น”

ภาคที่ 2 ความศักดิ์สิทธิ์ : โลกของนักรบ

จิตซึ่งเต็มไปด้วยความหวาดหวั่นนั้น จิตต้องประคองใส่ไว้ในเปลแห่งความเมตตา และให้ดูดดื่มน้ำนมอันรุ่งโรจน์ลึกซึ้งแห่งความสิ้นสงสัยอันเป็นอมตะ ให้อยู่ในร่มเงาเย็นฉ่ำแห่งความไม่หวาดหวั่น พัดวีด้วยพัดแห่งความเบิกบานและความสุข

เมื่อดวงจิตนั้นเติบใหญ่ขึ้น พร้อมๆกับสำแดงออกมาซึ่งปรากฏการณ์ต่างๆ จงนำมันไปสู่สถานแห่งการพึ่งพิงตัวเอง

เมื่อมันเติบโตขึ้นอีก เพื่อที่จะเกื้อหนุนให้เกิดความเชื่อมั่นแต่ปฐมกาล จงนำไปสู่สนามยิงธนูของนักรบ

และเมื่อมันยิ่งเติบใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะปลูกธรรมชาติดั้งเดิมให้ตื่นขึ้น จงพามันไปสัมผัสสังคมมนุษย์ ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยความงามและศักดิ์ศรี

เมื่อนั้นดวงจิตซึ่งเต็มไปด้วยความกลัว จึงอาจกลับกลายมาเป็นดวงจิตของนักรบ และความมั่นใจอันหนุ่มแน่นเป็นอมตะนั้น จึงอาจแผ่ออกกว้างสู่ห้วงมหรรณพอันไร้จุดเริ่มต้นและไร้ที่สิ้นสุด ณ จุดนี้เองที่ดวงจิตนั้นจะแลเห็นดวงอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่

บทที่ 11 ปัจจุบันขณะ

“เราจำเป็นต้องค้นหาสายใยเชื่อมโยงระหว่างสายวัฒนธรรมของเรากับประสบการณ์ชีวิตในปัจจุบันขณะหรืออำนาจวิเศษแห่งปัจจุบันกาล คือ สิ่งที่เชื่อมโยงปรีชาญาณแห่งอดีตเข้ากับปัจจุบัน”

บทที่ 12 ค้นหาอำนาจวิเศษ

“สัมผัสรับรู้ใดๆก็ตาม อาจเชื่อมโยงเราเข้ากับความเป็นจริงได้อย่างถูกต้องและเต็มเปี่ยม สิ่งที่เราแลเห็นไม่จำเป็นต้องงดงามเป็นพิเศษ แต่เราก็อาจชื่นชมในสรรพสิ่งใดๆ ซึ่งดำรงอยู่ ด้วยว่ามีหลักการของอำนาจวิเศษ มีคุณสมบัติอันมีชีวิตชีวาแฝงอยู่ในทุกสิ่ง มีบางสิ่งบางอย่างอันมีชีวิต มีบางสิ่งบางอย่างที่จริงยิ่งดำรงอยู่ในทุกๆสิ่ง”

บทที่ 13 จะปลุกเอาอำนาจวิเศษได้อย่างไร

“เมื่อคุณได้สำแดงความอ่อนโยนและความชัดเจนออกมาในสภาพแวดล้อมตน เมื่อนั้นพลังและความรุ่งโรจน์ก็จะอุบัติขึ้นมาในสถานการณ์นั้นๆ

แต่ถ้าคุณพยายามที่จะสร้างสภาวะเช่นนั้นขึ้นมาจากอัตตาของตนเอง สิ่งนั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นคุณไม่มีทางครอบครองพลัง และอำนาจวิเศษของโลกนี้ได้ แม้มันจะเป็นสิ่งที่มีและดำรงอยู่เสมอ ทว่าก็มิใช่สมบัติส่วนตัวของใคร”

บทที่ 14 เอาชนะความหยิ่งยโส

“เมื่อคุณเต็มเปี่ยมด้วยความอ่อนโยน โดยปราศจากความหยิ่งยโสและความก้าวร้าว เมื่อนั้นคุณก็จะเห็นถึงความเรืองรองของจักรวาล คุณอาจพัฒนาสัมผัสรับรู้ที่แท้จริงถึงจักรวาลขึ้นมาได้”

บทที่ 15 เอาชนะนิสัยและความเคยชิน

“กระบวนการที่จะปลดปล่อยตนเองออกจากความหยิ่งยโส และถอนทำลายความเคยชินลง เป็นวิธีการที่ออกจะรุนแรง แต่ทว่าจำเป็นยิ่ง หากปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้คนในโลก”

บทที่ 16 โลกศักดิ์สิทธิ์

“เมื่อมนุษย์ได้สูญเสียสายสัมพันธ์ที่มีต่อธรรมชาติต่อฟากฟ้าและแผ่นดิน เมื่อนั้น เขาก็ไม่รู้วิธีในการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม หรือในการจัดการกับโลกของตน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน มนุษย์ได้ทำลายระบบนิเวศน์ลง และในขณะเดียวกันก็ได้ทำลายกันและกันลงด้วยจากมุมมองนี้เองการเยียวยาบำบัดสายสัมพันธ์ส่วนตัวอันเชื่อมโยงอยู่กับโลกแห่งปรากฏการณ์”

บทที่ 17 ระบบธรรมชาติ

“การใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องกับระบบธรรมชาติ มิใช่การดำเนินตามกฎเกณฑ์อันตายตัวหรือประกอบภารกิจประจำวันตามแบบแผนความประพฤติหรือบทบัญญัติอันแห้งแล้ง

โลกนี้มีระเบียบแบบแผน มีพลังอำนาจและความรุ่มรวมล้ำลึก ซึ่งอาจสอนคุณให้รู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีศิลปะ อย่างเต็มเปี่ยมด้วยเมตตาต่อผู้อื่น และรู้จักทะนุถนอมตัวเอง”

บทที่ 18 จะปกครองอย่างไร

“แนวคิดเรื่องการปกครองโลกของตัวเอง ก็คือการที่คุณอาจมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีวินัย โดยไม่ปล่อยปละละเลย และในขณะเดียวกันก็สามารถเบิกบานในชีวิตได้ด้วย คุณสามารถเชื่อมโยงการหาเลี้ยวชีพกับศาสนธรรมเข้าด้วยกัน”

ภาคที่ 3 ปัจจุบันขณะอันแท้จริง

สำหรับบุคคลแห่งซัมบาลาผู้ทรงเกียรติ คือรุ่งอรุณแห่งการดำรงอยู่อย่างแท้จริงและเต็มเปี่ยม

  1. ยังไม่มีความเห็น

You must be logged in to post a comment.

  1. No trackbacks yet.

SetPageWidth