หมายเหตุ : เรียบเรียงจาก หนังสือ เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Guideline
คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อมของบริษัทจด ทะเบียนคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)ได้ให้หลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง CSR ซึ่งควรอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเองและขณะ เดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคมด้วยโดยอ้างอิงจากกลต.สามารถแบ่งเเนว ปฏิบัติในเรื่อง CSR ได้เป็น
8 หัวข้อ ดังนี้
1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
3. การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม
1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
หลักการ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
เป็นการจัดให้มีระบบบริหารจัดการอย่างรู้หน้าที่มีความรับผิดชอบในการจัดการอย่างโปร่งใส เท่าเทียม เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ
สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้นผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
อันจะนำไปสู่ความเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของธุรกิจ
แนวปฏิบัติ
ศึกษาและปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในเรื่องหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแล
หรือสมาคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น “หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี
2549” ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้
หลักการดังกล่าวได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการของ OECD
(OECD Principles of Corporate Governance, 2004) ซึ่งเนื้อหาของหลักการนี้ได้
แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ
1. สิทธิของผู้ถือหุ้น
2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
ในแต่ละหมวดข้างต้นประกอบด้วยส่วนที่เป็นหลักการสำคัญ
และส่วนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนสามารถปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวนอกจากนี้
สำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียนควรศึกษาเอกสาร“คู่มือกรรมการ”ที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของกรรมการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
หลักการ
การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้เกี่ยวข้อง
อันจะส่งผลดีต่อกิจการในระยะยาว ทั้งนี้ธุรกิจควรถือปฏิบัติตามแนวทางเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจ
โดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์อื่นที่อาจได้มาจากการดำเนินงานที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
แนวปฏิบัติ
1. หลีกเลี่ยงการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือหากพบว่ามีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น
ก็ควรจัดให้มีกระบวนการไกล่เกลี่ยที่เป็นธรรมและมีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญอย่างครบถ้วน
2. ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเล่นพรรคเล่นพวก หรือร่วมสมคบคิด (ฮั้ว) กัน
3. ไม่สนับสนุนการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์
4. จัดให้มีระบบการบริหารจัดการที่สามารถป้องกันการจ่ายสินบนและทุจริต
หรือสามารถตรวจสอบพบได้โดยไม่ชักช้า รวมถึงมีกระบวนการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
พร้อมกับให้ความเป็นธรรมหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น
5. รณรงค์ให้กรรมการ
ผู้บริหาร และพนักงานเห็นความสำคัญของการต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก
และการให้สินบนในทุกรูปแบบ
3. การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
หลักการ
การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอันมีส่วนสัมพันธ์กับธุรกิจในลักษณะการเพิ่มคุณค่า
และทรัพยากรบุคคลนับเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิต
ดังนั้น ธุรกิจควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขในการทำงานให้พนักงานมีคุณภาพชีวิต ที่ดี และได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ ตลอดจนได้รับโอกาสในการฝึกฝนและเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน
แนวปฏิบัติ
1. สนับสนุนและเคารพในการปกป้องสิทธิมนุษยชน
โดยหมั่นตรวจตราดูแลมิให้ธุรกิจของตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน
เช่น ไม่สนับสนุนการบังคับใช้แรงงาน (forced labour)
ต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก (child labour) เป็นต้น
2. ส่งเสริมให้มีการเฝ้าระวังการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนภายในธุรกิจของตน
และกระตุ้นให้มีการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล
โดยความรับผิดชอบของธุรกิจด้านสิทธิมนุษยชนยังครอบคลุมไปถึงบริษัทในเครือ ผู้ร่วมทุน
และคู่ค้า
3. จัดให้มีระบบการทำงานที่มุ่งเน้นความปลอดภัยและสุขอนามัยในสถานที่ทำงานอย่างเหมาะสม
เช่น การมีระบบป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน
การจัดให้มีสถานที่ทำงานที่สะอาดเพื่อความปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากอุบัติภัยและโรคภัย
4. พัฒนาพนักงานเพื่อฝึกฝนทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพโดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีการเรียนรู้ และเลื่อนตำแหน่งเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม
5. จัดให้มีเงื่อนไขการจ้างงานที่เป็นธรรมสำหรับพนักงานและให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามศักยภาพ
6. จัดให้มีกระบวนการร้องเรียนอย่างเหมาะสมสำหรับพนักงานที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
7. จัดให้มีการดูแลในเรื่องสวัสดิการแก่พนักงานตามสมควรเช่น จัดให้มีวันลาพักผ่อนประจำปี การทำงานล่วงเวลาที่สมเหตุสมผล
การรักษาพยาบาลตามความจำเป็นและสมควร เป็นต้น
8. ส่งเสริมให้พนักงานมีดุลยภาพในการใช้ชีวิตระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
มีการพิจารณาใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมให้พนักงานมีโอกาสบำเพ็ญประโยชน์
ทำความดีเพื่อสังคมรวมทั้งการปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน
9. จัดให้มีนโยบายปกป้องพนักงานไม่กลั่นแกล้งหรือลงโทษทางวินัยกับพนักงานที่มี การรายงานอย่างสุจริตต่อผู้บริหารหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการกระทำที่ ไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นภายในองค์กรธุรกิจ
(whistleblower protection)
10. ให้ข้อมูลสำคัญแก่พนักงานและตัวแทนพนักงานเพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานและสภาพที่แท้จริงขององค์กรธุรกิจ
11. สนับสนุนการหารือ/ความร่วมมือระหว่างนายจ้างกับพนักงานและตัวแทนพนักงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน
12. เคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของพนักงานซึ่งครอบคลุมถึงการมีอิสระในการให้ความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง
การได้รับข้อมูลหรือความคิดเห็นผ่านสื่อต่างๆรวมทั้งจัดให้มีช่องทางการสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเสรี
4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
หลักการ
สินค้า และ/หรือ บริการของธุรกิจไม่ควรก่อให้เกิดความเสี่ยงหรืออันตรายต่อผู้บริโภคทั้งนี้ ธุรกิจควรปรับปรุงมาตรฐานของสินค้า/บริการให้มีความเป็นสากลและให้ทุกคน สามารถเข้าถึงได้รวมทั้งควรพัฒนาสินค้า/บริการเพื่อเป็นประโยชน์ในการช่วย แก้ไขปัญหาของสังคมด้ว
แนวปฏิบัติ
1. ผลิตสินค้า/บริการที่ปลอดภัยและไว้วางใจได้
โดยไม่ผลิตสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
รวมถึงมีกระบวนการเรียกคืนสินค้า/บริการที่ไม่ปลอดภัย
2. จัดเก็บข้อมูลผู้บริโภคอย่างปลอดภัย
ไม่ส่งต่อข้อมูลผู้บริโภคให้กับผู้อื่น นอกจากจะได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคก่อน
3. ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอแก่ผู้บริโภคโดยคำนึงถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เช่น
ไม่โฆษณาเกินจริง ฉลากสินค้าควรมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนใช้ภาษาเรียบง่ายต่อการทำความเข้าใจ บอกวิธีการใช้สินค้าอย่างปลอดภัยรวมถึงการกำจัดซากขยะหลังการใช้งาน
เป็นต้น
4. กระตุ้นให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตเห็นความสำคัญของการใช้สินค้า/บริการที่คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น
5. กระตุ้นให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตเห็นความสำคัญของการใช้สินค้า/บริการที่คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น
5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
หลักการ
ชุมชนและสังคมที่เข้มแข็งและมีการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีความสำคัญยิ่งใน ฐานะเป็นปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ดังนั้นธุรกิจควรจัดกิจกรรมทางสังคมและ/หรือ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมที่ได้รับผลกระทบ จากกระบวนการผลิตสินค้า/บริการของธุรกิจโดยการแสดงตัวเป็นพลเมืองที่ดีของ ชุมชนนั้นพร้อมกับคิดค้นวิธีการที่จะลดและหยุดผลกระทบในทางลบต่อชุมชนและ สังคมที่เกิดจากกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจในที่สุด
แนวปฏิบัติ
1. สำรวจ
ตรวจสอบสภาพชุมชนและสังคมโดยรอบที่ตั้งของธุรกิจทั้งใกล้และไกลว่าได้รับผล กระทบในทางลบจากการดำเนินการของธุรกิจหรือโครงการที่จะดำเนินการในอนาคตมาก น้อยเพียงใด
เพื่อนำมาพิจารณาแก้ไข/ปรับปรุงการดำเนินการ มิให้เกิดผลกระทบในทางลบ และสร้างความเสียหายต่อชุมชนและสังคมทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
2. สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอาสาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนและสังคม
3. ร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชนและสังคมให้น่าอยู่
4. สนับสนุนให้ชุมชนและสังคมมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆอย่างเพียงพอ เช่น สถานศึกษา สถานพยาบาล ถนน เป็นต้น
5. สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการทำความดี ลดอบายมุขเพื่อความอยู่ดีมีสุขภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
6. ในการจัดกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและ สังคมธุรกิจสามารถขอคำปรึกษาและข้อเสนอแนะได้จาก ก.ล.ต. สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate
Social Responsibility Institute หรือ CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม (CSR) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
หลักการ
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกบวกกับปัจจัยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากเป็นสาเหตุของการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลเกินกว่าความจำ เป็น
ยังก่อให้เกิดมลภาวะทั้งทางน้ำ อากาศ ขยะ สารพิษ ฯลฯซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมาโดยภาวะโลกร้อนดังกล่าวจะกระทบต่อ มนุษย์และระบบนิเวศน์ต่อไป ดังนั้น
ธุรกิจจึงมีหน้าที่ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตมนุษย์ด้วยการจัดการปัญหาสิ่ง แวดล้อมโดยถือว่าการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกคน
แนวปฏิบัติ
1. จัดให้มีระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและติดตามประเมินผลการดำเนินการดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
รวมทั้งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบนิเวศน์ ปัญหาโลกร้อนมลภาวะ ฯล
2. ใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงการลดปริมาณและการบำบัดมลพิษก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ
3. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมีมาตรการประหยัดพลังงาน และมีการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่
4. พัฒนาสินค้า/บริการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยในการใช้งาน
5. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมความปลอดภัย และระบบสาธารณสุขแก่พนักงานและสาธารณชน
6. ส่งเสริมให้ลูกค้าตระหนักถึงข้อพึงระวังด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้สินค้า/บริการของบริษัท
7. ให้ความรู้และฝึกอบรมพนักงานในเรื่องสิ่งแวดล้อมความปลอดภัย และสาธารณสุข
8. จัดเตรียมแผนฉุกเฉินเพื่อจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งจัดให้มีระบบการรายงานต่อหน่วยงานกำกับดูแลทันทีที่เกิดเหตุการณ์ดัง กล่าว
7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
หลักการ
ในการดำเนินธุรกิจควรนำแนวคิดCSR มาประยุกต์ผสมผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการวางแผน กลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างกลมกลืน
โดยนำความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การดำเนินงานด้าน CSRมาพัฒนาปรับใช้และคิดค้นให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจที่สามารถสร้างประโยชน์ ความสามารถในการแข่งขัน
และมูลค่าเพิ่ม ทั้งต่อธุรกิจและสังคมไปพร้อมๆกัน (competitiveness with
innovative business)
แนวปฏิบัติ
1. สำรวจกระบวนการต่างๆของธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันว่าก่อให้เกิดความ เสี่ยงหรือมีผลกระทบในทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร
และศึกษาหาแนวทางแก้ไขเพื่อลดผลกระทบดังกล่าวนอกจากนั้น ควรศึกษา พิจารณาและวิเคราะห์กระบวนการทำงานอย่างละเอียดและครอบคลุมทุกด้าน
เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาไปสู่การค้นพบนวัตกรรมทางธุรกิจ
2. เปิดเผยนวัตกรรมที่ค้นพบในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจและผู้ประกอบการรายอื่นได้ปฏิบัติตาม
3. หมั่นวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาตลอดจนพัฒนานวัตกรรมตลอดเวลา โดยควรเป็นกระบวนการที่ดำเนินการต่อเนื่องอย่างไม่หยุดนิ่ง
เพื่อสร้างโอกาสในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่และเพื่อความเจริญเติบโตควบคู่การสร้างผลกำไรของธุรกิจอย่างยั่งยืน
เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคในศตวรรษที่ 21จะเปลี่ยนไปสู่ความต้องการสินค้าและบริการที่มีองค์ประกอบด้าน CSR มากขึ้น หากธุรกิจไม่สามารถปรับตัวตอบสนองความต้องการได้ทันท่วงที
อาจสูญเสียตลาดและโอกาสทางธุรกิจได้
8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม
หลักการ
ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติตาม แนวทางCSR ที่กล่าวมาอย่างครบถ้วน โดยข้อมูลที่เปิดเผยนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย
(stakeholders) ทุกฝ่ายยังช่วยในการสอบทานให้ธุรกิจทราบได้ว่าได้ดำเนินการในเรื่อง CSR ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่อย่างไร
แนวปฏิบัติ
1. จัดทำรายงานเปิดเผยการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(CSR report) โดยอาจระบุไว้ในรายงานประจำปี (annualreport) หรือจัดทำเป็นฉบับแยกต่างหากจากรายงานประจำปี ที่เรียกว่า รายงานความยั่งยืน
(sustainability report) ตามรูปแบบที่สากลยอมรับและควรครอบคลุมเนื้อหาในหัวข้อดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
1.1 การดำเนินงานด้านธุรกิจกล่าวถึง วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของธุรกิจที่สะท้อนหลักการและแนวทางปฏิบัติตามหลัก การCSR โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี และผลการดำเนินงาน
1.2 การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกล่าวถึงนโยบายการบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกระบวนการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการ ฟื้นฟูธรรมชาติ
และกระบวนการจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตลักษณะของผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าต่อผู้บริโภค สังคม
และสิ่งแวดล้อม
1.3 การดำเนินงานด้านสังคม
กล่าวถึง นโยบายการจัดการด้านแรงงานและพนักงาน
สวัสดิภาพในการทำงานของพนักงานการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน
และการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรอบพื้นที่ตั้งของธุรกิจ
2. จัดทำข้อมูลในรายงานให้ชัดเจนกระชับ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายหลีกเลี่ยงข้อมูลที่ไม่จำเป็นโดยสรุปการดำเนินการทั้ง ด้านดีและด้านไม่ดีตามข้อเท็จจริง
หากมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลจากภายนอกให้ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลและกลั่นกรองความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำมาเปิดเผยไว้ในรายงาน
3. จัดให้มีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลที่หลากหลายเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก เช่น
จัดทำรายงานทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของธุรกิจ/บริษัท
ภาคีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ CSR
ภาคีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับCSR ในประเทศไทยมีอาทิเช่น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
www.set.or.th
นอกจากภารกิจหลักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ทำหน้าที่เป็นตลาด รองในการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ และเป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวของภาคธุรกิจ
ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่จะช่วยเหลือ และร่วมมือกับองค์กรหน่วยงาน ทุกภาคส่วนของประเทศในการพัฒนาสังคมไทย
โดยได้กำหนดไว้ในภารกิจหลักขององค์กรในการเป็นต้นแบบของการดำเนินกิจกรรม เพื่อสังคมส่วนรวมแก่หน่วยงานต่างๆ ในตลาดทุน อาทิเช่น การก่อตั้งมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นในปี
2549 เพื่อดำเนินกิจกรรมในการพัฒนา สังคมไทยและชุมชนใหม่คุณภาพอย่างต่อเนื่องและ ยั่งยืน ทั้งในด้านการศึกษา กีฬา ดนตรี ศิลปวัฒนธรรม
รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม
www.csri.or.th
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม2550 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยเห็นว่า CSR เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตที่มีส่วนสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาค ธุรกิจ รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทั้งเห็นว่าสังคมไทยยังต้องการการดูแลเอาใจใส่
ซึ่งพลังจากภาคธุรกิจ เป็นพลังสำคัญที่จะป้องกันปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว
รวมถึงทำหน้าที่เป็นแกนกลาง เชื่อมโยงพลังของภาคธุรกิจ ช่วยเหลือสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และสภาพสังคมของไทยให้เติบโตเคียงคู่ไปกับการพัฒนาประเทศต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
www.sec.or.th
นับแต่วิกฤตการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2540ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อความเสียหายในตลาดทุน
ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูตลาดทุนไทย
จึงมีนโยบายให้จัดการประชุมเพื่อจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาตลาดทุนขึ้น ซึ่งการประชุมในครั้งนั้นผู้แทนจากภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ
ได้ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์หลายประการ โดยมาตรการสำคัญที่ที่ประชุมให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ การสร้างบรรษัทภิบาลในตลาดทุน
ทั้งในด้านบริษัทจดทะเบียนและสถาบันตัวกลาง และรวมไปถึงองค์กรกำกับดูแล ด้วย ซึ่งจากผลการประชุมในครั้งนั้น รัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ปี 2545 เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี
นอกจากนี้คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อมของบริษัทจด ทะเบียน และคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) ยังได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ เรื่อง เข็มทิศธุรกิจเพิ่อสังคม :
คู่มือช่วยบอกพิกัดการดำเนินงานที่มีเป้าหมายด้านธุรกิจควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม ขึ้นมาอีกด้วย (สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ www.m-society.go.th
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 หมวด 6 มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม
การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต
การสร้างความเข้มแข็งสถาบันครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงใน การดำรงชีวิต มีบริการสวัสดิการและการคุ้มครองอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและเสมอภาค
สามารถช่วยเหลือและพัฒนาตนเอง ครอบครัวและชุมชน
ทั้งนี้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility PromotionCenter : CSR) เมื่อเดือนมิถุนายน 2550
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยประสานงานการให้เพื่อสังคม (Philanthropy) ของมูลนิธิกองทุนไทย และแนวทางจิตอาสาพนักงาน (Volunteer) ของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน (The NETWORK ประเทศไทย) และเข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม (คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน ของกลต.)
เพื่อสร้างความเข้าใจและเพิ่มทักษะการปฏิบัติโดยยังจะสร้างความรู้ความเข้า ใจให้เป็นที่แพร่หลายมากกว่าการรู้จักแต่ในองค์กรขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯแต่ เพียงอย่างเดียว
กระทรวงอุตสาหกรรม
www.industry.go.th/page/home.aspx
กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการและทุกภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการตามมาตรฐานสากล เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ที่จะประกาศใช้ในปี 2552 โดยให้การดำเนินธุรกิจและอุตสาหรรม
คำนึงถึงหลักการ 7 ประการ (www.tisi.go.th) คือ การใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (Environment)การเคารพสิทธิมนุษยชน(Human right) การดูแลพนักงานด้วยดี(Labour practices) การมีจริยธรรมขององค์กร (Organization
governance) การดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม (Fair operating practices) การไม่เอาเปรียบผู้บริโภค (Consumer issues) และการร่วมพัฒนาสังคม (Social development
เครือข่ายความร่วมมือระหว่าง
ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน The
Network of NGO – Business Partnerships for Sustainable Development www.ngobiz.org
The NETWORK เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ
ADB GSK และ สถาบันคีนันแห่งเอเซียเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เรื่องการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ
และภาคประชาสังคมให้เกิดการผสานความสามารถของทั้งสองภาคีในรูปแบบการเสริม แรงร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในแต่หน่วยย่อย สำหรับ เดอะเนทเวิร์ค
(ประเทศไทย) เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ทะเบียนเลขที่ 1853โดยการรับรองของคณะกรรมการการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ องค์กรธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดย ใช้ความรู้ความสามารถของแต่ละภาคีเชื่อมประสานกันเป็นเครือข่ายกัลยาณมิตรใน รูปแบบ ต่างๆ
อย่างมีประสิทธิภาพ
ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล www.thaigoodgovernance.org
ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาลโครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล เกิดจากการที่เห็นปัญหาของประเทศไทย
ที่มีหลักการคิดและหลักการวิเคราะห์ที่เป็นแบบดั้งเดิม ประเทศไทยต้องการปรัชญาใหม่และต้องการวิธีการคิดแบบใหม่เพื่อที่จะเอาชนะ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
ทั้งในภาคราชการและภาคธุรกิจเอกชนมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมจึงได้เพิ่ม หลักสูตรนี้เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบุคคลากรเหล่านั้น นอกจากนี้หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาการพัฒนาธรรมาภิบาล นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวพระราชบัญญัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องขาดทุนคือกำไร
มาเป็นแนวทางในการทำงานของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธรรมาภิบาล
โครงการให้เพื่อสังคม/ มูลนิธิกองทุนไทย www.tff.or.th
มูลนิธิกองทุนไทยได้จัดฝ่ายส่งเสริมการให้เพื่อสังคม ได้จัดตั้ง
โครงการให้เพื่อสังคม โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Give 2 call โดยได้นิยามการให้ว่า
เป็นการแบ่งปันน้ำใจ แบ่งปันความเอื้ออาทร การให้ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เงินและวัตถุสิ่งของ เป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้ การให้ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของสังคมไทย เพื่อนำไปสู่สังคมสงบสุข
ร่มเย็น (มูลนิธิกองทุนไทย,www.tff.or.th) ในขณะเดียวกันจะดำเนินงานควบคู่ไปกับงานของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาค ธุรกิจและภาคประชาสังคม (The NETWORK ประเทศไทย)ได้ริเริ่มโครงการจิตอาสาพนักงาน
เป็นโครงการรณรงค์สร้างจิตสำนึกการเสียสละการทำกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเริ่ม ต้นภายในองค์กรขององค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน (www.tff.or.th)
ทั้งสองเรื่องข้างต้นเป็นเรื่องที่อธิบายหรือสามารถดำเนินการควบคู่กันไปโดย เรื่องของการให้เพื่อสังคม นำเอาแนวความคิดมาจาก การบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy)
ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยความเอื้อเฟื้อขององค์กร ธุรกิจโดยเจ้าของหรืผู้ถือหุ้น ด้วยการบริจาคเงิน สิ่งของหรือสินค้าให้กับสังคมหรือผู้ด้อยโอกาส
ในขณะที่ จิตอาสาพนักงาน (Volunteer) เป็นวิธีการที่สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการให้และการแบ่งปันทรัพยากรต่างๆ
ทั้งในรูปของเวลา ความรู้ สิ่งของ หรือสินค้าร่วมกัน ระหว่างนายจ้าง ผู้บริหารและลูกจ้างแก่ชุมชนที่อยู่รอบบริเวณบริษัทและสังคมวงกว้าง
อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน และการสร้างสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอีกทางหนึ่ง
ก่อให้เกิดทั้งประโยชน์องค์กรธุรกิจและสังคมไปพร้อมๆกัน
สถาบันไทยพัฒน์
มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย www.thaipat.blogspot.com
สถาบันไทยพัฒน์เป็นองค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์หากำไร ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 9 กันยายน 2542 ในรูปแบบของชมรม และได้แปลงสภาพเป็นสถาบันเมื่อ 18 กรกฎาคม 2544
เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและบรรษัท บริบาล (CSR) ในรูปแบบต่างๆ เช่น การวิจัย การให้คำปรึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานและได้เป็นภาคีองค์กรของมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สถาบันคีนันเอเซีย
http://www.kiasia.org สถาบันคีนันเอเซีย (Kenan Institue Asia) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีปณิธานที่มุ่งมั่นที่จะสร้างขีดความสามารถที่
แข็งแกร่งและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะในแถบลุ่ม น้ำโขง สถาบันได้กำหนดกรอบวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินงานในระยะ 5 ปี (2551-2555) ไว้7 ประการ โดยมีหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ด้าน CSR เช่นส่งเสริมการบริหารจัดการทางธุรกิจที่ดีขึ้นของภาคเอกชนตามหลักธรรมาภิ บาลความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ที่ยั่งยืน, สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมการเข้ามามีบทบาทร่วมของรัฐวิสาหกิจและเอกชน เป็นต้น