ก.ค.
14

การรู้จักและเข้าใจตนเองเพื่อพัฒนาตนเอง

การรู้จักและเข้าใจตนเอง

การรู้จักและเข้าใจตนเองเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองเพื่อที่จะได้รู้ข้อดีของตนเองและข้อที่ตนเองควรปรับปรุง โดยปกติคนเรามักจะมองว่าตัวเองเป็นคนดี หรือทำถูกแล้ว และคิดว่ารู้จักตัวเองดีแล้ว แต่จริงแล้วความคิดเหล่านั้นเป็นเพียงความคิดเห็นของตนเองคนเดียว ซึ่งอาจไม่ตรงกับความคิดเห็นของบุคคลอื่นที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์และเกิดความขัดแย้งกับเราก็ได้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างกัน การจะแก้ปัญหานั้นเราไม่สามารถแก้ที่ผู้อื่นได้แต่แก้ไขที่ตนเองได้ เหมือนกับคำกล่าวของขงจื้อที่ว่า “เราไม่สามารถห้ามนกบินข้ามหัวเราได้ แต่เราสามารถทำให้นกไม่ขี้รดหัวเราได้โดยการหาหมวกมาใส่เสีย” ดังนั้นการรู้จักและเข้าใจตนเองจะทำให้เรารู้ว่าทำไมเราจึงมีพฤติกรรมเช่นนี้ ทำไมอารมณ์และความรู้สึกของเราจึงเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น และเราควรพยายามฝึกฝนอบรมจิตใจ อารมณ์ของตนเองและพัฒนาตนเองอย่างไรเพื่อให้เข้ากับผู้อื่นได้

การรู้จักตนเอง เราสามารถรู้จักตนเองได้จากวิธีการ ดังต่อไปนี้

1. จากข้อมูลในประสบการณ์ของตน เช่น รู้ว่าพริกเผ็ดจากการที่ได้ทานพริกเข้าไป
2. จากการสังเกตและวิเคราะห์ตนเอง เช่นรู้ว่าไม่ชอบเผ็ด
3. จากการส่องกระจกเพื่อตรวจสอบบุคลิกภาพของเรา ความสุขบนใบหน้าเราหรือริ้วรอยความทุกข์ที่มี
4. จากเสียงสะท้อนกลับจากกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรา เช่น เพื่อน ที่ทำงาน หรือสังคม เป็นต้น และรวมถึงตัวเราว่ามีความสุขดีอยู่หรือเปล่า

การรู้จักและเข้าใจตนเองนั้น เราควรรู้จักตนเองในเรื่องดังต่อไปนี้

1. รู้ว่าตัวเองเป็นใคร มีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ อย่างไรบ้าง
2. รู้ภาพพจน์ของตนเอง ทั้งตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่เปิดเผย ตัวตนที่ซ่อนเร้น บุคลิกภาพด้านใดที่ควรปรับปรุง รวมทั้งแนวทางที่ใช้ในการปรับปรุงตนเองให้เหมาะสม
3. รู้ความสามารถของตนเอง ทั้งความสามารถทางสมอง สติปัญญา ความรู้ ความสามารถทั่วไปและความสามารถพิเศษ ความสามารถด้านใดที่ควรพัฒนาปรับปรุง หรือที่เราควรนำมาใช้ให้เป็นเอกลักษณ์พิเศษของเรา
4. รู้ความต้องการ ความสนใจ และนิสัยของตนเองตลอดจน สิ่งไหนควรส่งเสริม สิ่งไหนควรปรับปรุง
5. รู้ศักยภาพทางร่างกายและทางเศรษฐกิจ-สังคมของตนเอง

กระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

กระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีขั้นตอนปฏิบัติเป็นกระบวนการ ดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อบกพร่อง โดย – สังเกตด้วยตนเอง

– รับข้อมูลจากผู้อื่น
2. ประเมินผล โดยพิจารณาจาก – ความสุขใจของตนเอง

– ความสุขใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. หาวิธีปรับปรุงแก้ไขตนเองทั้ง รูปธรรมนามธรรม โดยมีหลักคิด – เอาใจเขามาใส่ใจเรา

– หาข้อมูลโดยไต่ถามจากผู้รู้/คนสนิท/ค้นคว้า
4. ลงมือปฏิบัติ โดยอาศัยกลยุทธ์ – ความเข้าใจ

– ความอดทน

ก.ค.
13

คลายเครียด

ก.ค.
13

เพลงมหาวิทยาลัย


แต่งโดย คุณสุรักษ์ สุขเสวี ขับร้องโดย คุณ ชวิน จิตรสมบูรณ์ และศักดา พัทธสีมา

ก.ค.
13

งานอบรม

อบรม ICT เพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอน จัดโดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระหว่างวันที่ 11 – 13 กรกฎาคม 2554โดยใช้ http://www.moodle.rmutt.ac.th จัดทำบทเรียนออนไลน์  และ http://www.webblog.rmutt.ac.th/sugunya  จัดทำบล๊อกส่วนตัวบนเว็บไซด์

ก.ค.
13

หลักการพูดเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์

การใช้คำพูดควรเน้นแสดงความหว่งใยในคนที่เราพูดแทนที่เอาตามอารมณ์ของผู้พูดจะแก้ปัญหาความไม่เข้าใจกันได้ เช่น แทนที่จะพูดว่า ”ทำไมแกกลับช้า ชั้นรอตั้งนานแล้วแกมันไม่มีความรับผิดชอบ”ควรเปลี่ยนเป็นพูด  “แกมีปัญหาอะไรถึงมาช้า ชั้นเป็นหว่งแกนะ แกน่าจะโทรบอกปัญหาให้ชั้นทราบระหว่างที่ชั้นรออยู๋”

ก.ค.
13

สวัสดีชาวโลก – -’

ยินดีต้อนรับสู่Web_Blog_Rmutt_Sites นี่เป็นเรื่องแรกของคุณ คุณสามารถแก้ไขหรือลบมันได้ แล้วเริ่มการสร้างบล็อกของคุณ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับเวิร์ดเพรส คุณสามารถขอความช่วยเหลือได้ที่เว็บบอร์ดเวิร์ดเพรส หรือคู่มือเวิร์ดเพรส