$theTitle=wp_title(" - ", false); if($theTitle != "") { ?>
Rajamangala University of Technology Thanyaburi
ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นโยบายหลักที่ 9 เรื่องการติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาต่างประเทศ ได้แก่ นำการใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการวัดความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency) ของบุคลากรและนักศึกษา สนับสนุนการเปิดโรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศหรือศูนย์ภาษาในมหาวิทยาลัยฯ จัดทำโครงการนำร่องให้มีการสอบ Exit Exam จัดทำข้อสอบวัดมาตรฐานภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยฯและศูนย์สอบภาษาอังกฤษออนไลน์ สร้างขยายเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กร สถาบันต่างประเทศในสาขาต่าง ๆ แลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการสอน การวิจัย ตลอดจนการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและนานาชาติ การจัดสหกิจศึกษาระหว่างประเทศ เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มมากขึ้น ปรับปรุงมาตรฐาน ดูแลหลักสูตรนานาชาติ สนับสนุนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศทั้งในระบบออนไลน์และในชั้นเรียน และนโยบายหลักที่ 10 เรื่องการสร้างความร่วมมือทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ แลกเปลี่ยนอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ความร่วมมือด้านการวิจัย ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และเพื่อให้มีการพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม เศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้ง การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN: Economic Community: AEC) ทำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวในปี 2563 ทำให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะต้องพัฒนาบุคลากร และนักศึกษา ให้มีทักษะทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณสมบัติด้านภาษาต่างประเทศ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้พัฒนาสัญญาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและยุโรป ถึง 111 แห่ง ณ ปัจจุบัน สัญญาความร่วมมือที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมีเพียง 39 แห่ง และส่วนใหญ่เป็นการที่นักศึกษาจากต่างประเทศเดินทางมาลงทะเบียนเรียนยังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แต่การพัฒนาเพื่อให้เกิดงานวิจัยร่วม หรือโอกาสที่บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะได้ไปลงทะเบียนเรียนหรือสั่งสมประสบการณ์ทางวิชาชีพและภาษายังมีน้อย จากการที่ได้ไปหารือเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือ ทำให้เห็นโอกาสที่จะส่งนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้าย หรือปริญญาโท ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับปริญญาตรีปีสุดท้าย อาจเป็นรูปแบบสหกิจศึกษา ณ ต่างประเทศ รวมทั้งการเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในแต่ละประเทศ
ถึงแม้มหาวิทยาลัยจะพยายามส่งเสริมสนับสนุนในด้านการเจรจาหาความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีนักศึกษาที่สามารถไปต่างประเทศตามเป้าหมายดังกล่าวได้มากพอ ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดสำคัญยิ่งนั่นคือ ทักษะความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่สูงพอที่จะเข้าสู่การแลกเปลี่ยนหรือศึกษาต่อได้ ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการบริหารจัดการตามแผนกลยุทธ์ศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยฯ พ.ศ. 2553-2556 อย่างเร่งรัดและเป็นรูปธรรมชัดเจน จึงควรที่จะจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและศึกษาต่อต่างประเทศ ให้กับนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นการนำร่องและกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการพัฒนาทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษแก่นักศึกษา โดยให้เป็นโครงการระดับมหาวิทยาลัย เพื่อจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในรูปแบบต่างๆ รวมทั้ง กำหนดตัวชี้วัดเพื่อติดตามผลให้เป็นไปตามเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ