การเพาะเลี้ยง ไรน้ำนางฟ้า
ไรน้ำนางฟ้า เป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายกุ้ง คนพื้นบ้านเรียก แมงอ่อนช้อย แมงแงว แมงหางแดง และแมงน้ำฝน จัดอยู่ใน ไฟลัมอาร์โทรโปดา ไฟลัมย่อย ครัสเตเซีย คลาสแบรงคิโอโปดา อันดับอะนอสตราคา แต่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม จัดอยู่ในประเภทสัตว์โบราณ ลักษณะโดยทั่วไป ขนาดเล็ก ไม่มีเปลือก ตัวใส มีขาว่ายน้ำ 11 คู่ ในกุ้งมีเพียง 5 คู่ ลำตัวยาว 1.1 – 4.3 ซม. ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีพฤติกรรมว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงนำโบก พัดอาหารเข้าปาก บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่ที่มีก้านยาว 1 คู่ มีหนวด 2 คู่ ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงส้ม ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่ทางด้านท้อง หนวดคู่ที่ 2 ของ ตัวผู้เปลี่ยนแปลงไปใช้สหรับจับตัวเมียเวลาผสมพันธุ์ และใช้ในการจำแนกชนิด ไข่ที่ตัวเมียสร้างขึ้นจะพัฒนาให้มีเปลือกหนา เป็นการปรับตัวเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำชั่วคราว เช่น คลองข้างถนน นาข้าว และปลักควายที่มีน้ำขังเฉพาะหน้าฝนเท่านั้น สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ โปรโตซัว อินทรียสารและแพลงก์ตอนพืช ฤดูที่พบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ไข่มีเปลือกหนา เป็นซีส อยู่ในพื้นดินเมื่อฝนตกไข่ไรน้ำนางฟ้าได้รับน้ำฝนก็จะพัฒนาฟักเป็นตัวโดยจะ พบในบ่อเล็กบ่อน้อย ส่วนบ่อหรือบึงขนาดใหญ่จะไม่พบไรน้ำนางฟ้า ทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าได้ โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ น้ำสะอาด ในธรรมชาติภายหลังจากฝนตก 1 เดือนมีน้ำขัง ก็จะพบไรน้ำนางฟ้าในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากการสำรวจของ ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นท่านแรกที่ค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจ และเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำจืดเขตร้อนทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคใต้ จนกระทั่งปลายฤดูฝนในปี พ.ศ. 2536 ได้พบไรน้ำนางฟ้าเพศเมียแต่ไม่พบไรน้ำนางฟ้าเพศผู้ ต่อมาปี พ.ศ. 2541 ได้สำรวจพบไรน้ำนางฟ้าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นตัวเต็มวัย ทั้งยังได้จำแนกชนิดจากที่ในโลกมี 50-60 ชนิด ไรนางฟ้าที่พบในประเทศไทย มี 3 ชนิด ซึ่งทั้ง 3 ชนิด เป็นชนิดใหม่ของโลก และเป็นสัตว์น้ำประจำท้องถิ่นที่พบในประเทศไทยเท่านั้น
1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินทร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000) พบในจังหวัดหนองบัวลำภู มีลักษณะแตกต่างกับที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของโลก โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ลักษณะ ตัวใส หางแดง ตัวยาว 1.3-3.0 ซม. ตัวผู้มีหนวดยาว ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่บริเวณกลางตัวด้านท้อง ไข่กลมมีลวดลายคล้ายลูกตะกร้อ มีอยู่กระจายทั่วไปในประเทศไทย
2. ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002) ลักษณะ ตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวยาว 1.7-4.3 ซม. ตัวเมียมีสีเข้มกว่าตัวผู้ มีถุงไข่ 1 ถุง ไข่กลมคล้ายกับไข่ของไรน้ำนางฟ้าสิรินทร แต่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณสองเท่า
3. ไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis Sanoamuang & Saengphan, 2006)
พบที่จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ลักษณะ ตัวใส สีตัวบางครั้งเป็นสีฟ้าอ่อน หางสีแดง ตัวยาว 1.1-2.0 ซม. ตัวเมียมีไข่เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายปิรามิด (Tetrhedral eggs) เป็นชนิดที่หายากมาก ไรน้ำนางฟ้าสยามนอกจากพบในประเทศไทยยังพบในประเทศลาว
การเพาะพันธุ์ไรนางฟ้า
จากการศึกษาพบว่า ชนิดที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงคือ “ ไรน้ำนางฟ้าไทย ” เนื่องจากเป็นชนิดที่โตเร็วกว่าไรน้ำนางฟ้าชนิดอื่น ฟักเป็นตัวอ่อนเมื่ออายุราว 1 สัปดาห์ และวางไข่ครอกแรก จากนั้นวางไข่อีกทุก ๆ 27 ชั่วโมง ประมาณ 16 ครั้ง เฉลี่ยวางไข่ทั้งหมดประมาณ 6,000 ฟอง โดยจากการทดลองเลี้ยง น้ำ 1 ลิตร ต่อไรน้ำฯ 50 ตัว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ จะให้ผลผลิต 1.5-1.7 กก. เวลานี้สามารถเลี้ยงให้มีอัตรารอดตายกว่า 90% นอกจากนี้ยังพบว่าไรน้ำชนิดนี้มีโปรตีนสูงถึง 64-69% ขณะที่อาร์ทีเมียมีแค่ 56% เท่านั้น
สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว อินทรียวัตถุขนาดเล็ก รวมถึงแบคทีเรีย และเชื้อราที่อยู่ในน้ำ จึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่ยุ่งยากในการดูแล แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญพอตัวเหมือนกัน ส่วนด้านต้นทุนการเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงก็ไม่สูงนัก และสามารถเลี้ยงจนเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว สะดวกที่นำตัวเต็มวัยมาแช่แข็งส่งไปขายเป็นอาหารกุ้งกุลาดำที่มีการเพาะ เลี้ยงอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล และยังเป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม
ไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทย ยังสามารถเก็บได้ในสภาพแห้งเป็นระยะเวลานาน เหมาะที่จะนำไปเพาะฟักได้เอง ส่วนตัวเต็มวัยของไรน้ำนางฟ้า ก็สามารถใช้เป็นสัตว์ทดลองในการทดสอบคุณสมบัติของสารพิษต่าง ๆ ได้
วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้เพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า
1. ภาชนะ
1.1 บ่อซีเมนต์ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งสะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก
1.2 กะละมัง ขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
1.3 ถังพลาสติกสีดำ
1.4 บ่อดิน ขนาดที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ 0.5-1 ไร่ บ่อดินดีที่สุดเพราะไม่ต้องเติมอากาศ เป็นแบบธรรมชาติ ไม่ต้องให้ อาหารเสริม ไรน้ำนางฟ้าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพการเติมอากาศเป็นแบบ Air Water Link คือ ให้น้ำข้างล่างขึ้นมาข้างบน หรือใช้ หัวทรายหรือระบบกรองที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม
2. แสงแดด ไรน้ำนางฟ้าต้องการแสงแดดด้วย เพื่อช่วยในการสังเคราะห์อาหารของไรน้ำนางฟ้า สำหรับบ่อดินเป็นบ่อเปิดรับ แสงแดดได้ทั่วทั้งบ่อ หากสร้างโรงเรือนต้องให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วย โรงเรือนแบบเปิดในช่วงฤดูร้อน ควรทำหลังคามีสแลนคลุมบังพื้นที่ 50 % หากเป็นช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยมีแสงแดดจะเปิดสแลนออกให้ได้รับแสงแดด 100%
3. น้ำ มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการเลี้ยงเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป เช่น น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไรน้ำนางฟ้าไม่จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ราคารแพง น้ำประปาเหมาะสมที่สุด แต่ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน โดยเปิดน้ำประปาทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนเจือจางลง เพราะคลอรีนจะมีผลกระทบภายหลังการฟักตัวของไรน้ำนางฟ้า จากนั้นใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็นตัว เมื่อลูกไรน้ำนางฟ้ามีอายุ 10-12 ชั่วโมงต้องให้อาหาร มิฉะนั้นตัวอ่อนจะตาย
ไรน้ำนางฟ้ากินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียว (แพลงก์ตอนพืชประเภทคลอเรลล่า) ได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ฉะนั้นบ่อเพาะน้ำเขียวควรอยู่กลางแจ้ง ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเล็ก ควรมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า
การ ให้อาหารให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์ จากทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้ยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสีย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า
วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วัน จะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่ไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์สามารถเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน
ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า
1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม
2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี
3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก
4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ
5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ
ไรน้ำนางฟ้า เป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายกุ้ง คนพื้นบ้านเรียก แมงอ่อนช้อย แมงแงว แมงหางแดง และแมงน้ำฝน จัดอยู่ใน ไฟลัมอาร์โทรโปดา ไฟลัมย่อย ครัสเตเซีย คลาสแบรงคิโอโปดา อันดับอะนอสตราคา แต่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม จัดอยู่ในประเภทสัตว์โบราณ ลักษณะโดยทั่วไป ขนาดเล็ก ไม่มีเปลือก ตัวใส มีขาว่ายน้ำ 11 คู่ ในกุ้งมีเพียง 5 คู่ ลำตัวยาว 1.1 – 4.3 ซม. ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีพฤติกรรมว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงนำโบก พัดอาหารเข้าปาก บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่ที่มีก้านยาว 1 คู่ มีหนวด 2 คู่ ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงส้ม ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่ทางด้านท้อง หนวดคู่ที่ 2 ของ ตัวผู้เปลี่ยนแปลงไปใช้สหรับจับตัวเมียเวลาผสมพันธุ์ และใช้ในการจำแนกชนิด ไข่ที่ตัวเมียสร้างขึ้นจะพัฒนาให้มีเปลือกหนา เป็นการปรับตัวเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำชั่วคราว เช่น คลองข้างถนน นาข้าว และปลักควายที่มีน้ำขังเฉพาะหน้าฝนเท่านั้น สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ โปรโตซัว อินทรียสารและแพลงก์ตอนพืช ฤดูที่พบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ไข่มีเปลือกหนา เป็นซีส อยู่ในพื้นดินเมื่อฝนตกไข่ไรน้ำนางฟ้าได้รับน้ำฝนก็จะพัฒนาฟักเป็นตัวโดยจะ พบในบ่อเล็กบ่อน้อย ส่วนบ่อหรือบึงขนาดใหญ่จะไม่พบไรน้ำนางฟ้า ทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าได้ โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ น้ำสะอาด ในธรรมชาติภายหลังจากฝนตก 1 เดือนมีน้ำขัง ก็จะพบไรน้ำนางฟ้าในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากการสำรวจของ ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นท่านแรกที่ค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจ และเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำจืดเขตร้อนทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคใต้ จนกระทั่งปลายฤดูฝนในปี พ.ศ. 2536 ได้พบไรน้ำนางฟ้าเพศเมียแต่ไม่พบไรน้ำนางฟ้าเพศผู้ ต่อมาปี พ.ศ. 2541 ได้สำรวจพบไรน้ำนางฟ้าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นตัวเต็มวัย ทั้งยังได้จำแนกชนิดจากที่ในโลกมี 50-60 ชนิด ไรนางฟ้าที่พบในประเทศไทย มี 3 ชนิด ซึ่งทั้ง 3 ชนิด เป็นชนิดใหม่ของโลก และเป็นสัตว์น้ำประจำท้องถิ่นที่พบในประเทศไทยเท่านั้น
1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินทร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000) พบในจังหวัดหนองบัวลำภู มีลักษณะแตกต่างกับที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของโลก โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ลักษณะ ตัวใส หางแดง ตัวยาว 1.3-3.0 ซม. ตัวผู้มีหนวดยาว ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่บริเวณกลางตัวด้านท้อง ไข่กลมมีลวดลายคล้ายลูกตะกร้อ มีอยู่กระจายทั่วไปในประเทศไทย
2. ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002) ลักษณะ ตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวยาว 1.7-4.3 ซม. ตัวเมียมีสีเข้มกว่าตัวผู้ มีถุงไข่ 1 ถุง ไข่กลมคล้ายกับไข่ของไรน้ำนางฟ้าสิรินทร แต่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณสองเท่า
3. ไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis Sanoamuang & Saengphan, 2006)
พบที่จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ลักษณะ ตัวใส สีตัวบางครั้งเป็นสีฟ้าอ่อน หางสีแดง ตัวยาว 1.1-2.0 ซม. ตัวเมียมีไข่เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายปิรามิด (Tetrhedral eggs) เป็นชนิดที่หายากมาก ไรน้ำนางฟ้าสยามนอกจากพบในประเทศไทยยังพบในประเทศลาว
การเพาะพันธุ์ไรนางฟ้า
จากการศึกษาพบว่า ชนิดที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงคือ “ ไรน้ำนางฟ้าไทย ” เนื่องจากเป็นชนิดที่โตเร็วกว่าไรน้ำนางฟ้าชนิดอื่น ฟักเป็นตัวอ่อนเมื่ออายุราว 1 สัปดาห์ และวางไข่ครอกแรก จากนั้นวางไข่อีกทุก ๆ 27 ชั่วโมง ประมาณ 16 ครั้ง เฉลี่ยวางไข่ทั้งหมดประมาณ 6,000 ฟอง โดยจากการทดลองเลี้ยง น้ำ 1 ลิตร ต่อไรน้ำฯ 50 ตัว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ จะให้ผลผลิต 1.5-1.7 กก. เวลานี้สามารถเลี้ยงให้มีอัตรารอดตายกว่า 90% นอกจากนี้ยังพบว่าไรน้ำชนิดนี้มีโปรตีนสูงถึง 64-69% ขณะที่อาร์ทีเมียมีแค่ 56% เท่านั้น
สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว อินทรียวัตถุขนาดเล็ก รวมถึงแบคทีเรีย และเชื้อราที่อยู่ในน้ำ จึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่ยุ่งยากในการดูแล แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญพอตัวเหมือนกัน ส่วนด้านต้นทุนการเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงก็ไม่สูงนัก และสามารถเลี้ยงจนเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว สะดวกที่นำตัวเต็มวัยมาแช่แข็งส่งไปขายเป็นอาหารกุ้งกุลาดำที่มีการเพาะ เลี้ยงอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล และยังเป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม
ไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทย ยังสามารถเก็บได้ในสภาพแห้งเป็นระยะเวลานาน เหมาะที่จะนำไปเพาะฟักได้เอง ส่วนตัวเต็มวัยของไรน้ำนางฟ้า ก็สามารถใช้เป็นสัตว์ทดลองในการทดสอบคุณสมบัติของสารพิษต่าง ๆ ได้
วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้เพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า
1. ภาชนะ
1.1 บ่อซีเมนต์ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งสะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก
1.2 กะละมัง ขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
1.3 ถังพลาสติกสีดำ
1.4 บ่อดิน ขนาดที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ 0.5-1 ไร่ บ่อดินดีที่สุดเพราะไม่ต้องเติมอากาศ เป็นแบบธรรมชาติ ไม่ต้องให้ อาหารเสริม ไรน้ำนางฟ้าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพการเติมอากาศเป็นแบบ Air Water Link คือ ให้น้ำข้างล่างขึ้นมาข้างบน หรือใช้ หัวทรายหรือระบบกรองที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม
2. แสงแดด ไรน้ำนางฟ้าต้องการแสงแดดด้วย เพื่อช่วยในการสังเคราะห์อาหารของไรน้ำนางฟ้า สำหรับบ่อดินเป็นบ่อเปิดรับ แสงแดดได้ทั่วทั้งบ่อ หากสร้างโรงเรือนต้องให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วย โรงเรือนแบบเปิดในช่วงฤดูร้อน ควรทำหลังคามีสแลนคลุมบังพื้นที่ 50 % หากเป็นช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยมีแสงแดดจะเปิดสแลนออกให้ได้รับแสงแดด 100%
3. น้ำ มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการเลี้ยงเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป เช่น น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไรน้ำนางฟ้าไม่จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ราคารแพง น้ำประปาเหมาะสมที่สุด แต่ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน โดยเปิดน้ำประปาทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนเจือจางลง เพราะคลอรีนจะมีผลกระทบภายหลังการฟักตัวของไรน้ำนางฟ้า จากนั้นใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็นตัว เมื่อลูกไรน้ำนางฟ้ามีอายุ 10-12 ชั่วโมงต้องให้อาหาร มิฉะนั้นตัวอ่อนจะตาย
ไรน้ำนางฟ้ากินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียว (แพลงก์ตอนพืชประเภทคลอเรลล่า) ได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ฉะนั้นบ่อเพาะน้ำเขียวควรอยู่กลางแจ้ง ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเล็ก ควรมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า
การ ให้อาหารให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์ จากทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้ยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสีย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า
วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วัน จะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่ไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์สามารถเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน
ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า
1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม
2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี
3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก
4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ
5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ
ที่มาจาก:ศุนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปราจีนบุรี