ก.พ.
06
2013

e-Librarian ในศตวรรษที่ 21

วิทยากรโดย : อาจารย์พงศ์พิชญ์ และ คุณเมฆินทร์

หัวข้อที่เข้าร่วมอบรม วันแรกสรุปได้ดังนี้

บริบทในการให้บริการห้องสมุดยุคใหม่  การก้าวผ่านศตวรรษที่ 21 ยุคของการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี บทบาทของห้องสมุดจึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ การให้บริการที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลัก และจากประสบการณ์ของผู้ใช้ (Customer Experience) ที่มีต่อการใช้การบริการในห้องสมุด นำมาวางแผนและให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจขึ้น

ห้องสมุดที่เปรียบเสมือนเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา มากกว่านั้นแล้ว ห้องสมุดยังมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติด และป้องกันการก่อเหตุ ที่จะนำไปสู่การร้ายได้  ถ้าหากเปรียบเทียบกันที่ผ่านมาหลายหน่วยงาน หลายรัฐบาล มักจะทุ่มเทงบประมาณกับสิ่งอื่นมากมายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานั้น แต่ห้องสมุด เพียงแค่มีพื้นที่ที่ให้เยาวชนเหล่านี้ได้มาทำกิจกรรม มาเรียนรู้ร่วมกัน  อะไรที่หน่วยงานและรัฐบาลจะใช้งบประมาณไปมากกว่ากัน?

บทบาทของห้องสมุดต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การใช้ห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุค ตามเทคโนโลยีที่ก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ จากห้องสมุดที่เคยมีให้บริการแต่หนังสือ – เปลี่ยนไป เริ่มมีให้บริการสื่อมัลติมีเดียมากขึ้น – เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาให้บริการพิมพ์งาน ใช้อินเทอร์เน็ต – ผู้ใช้เริ่มมี notebook ถือ tablet เข้ามาในห้องสมุดมีความต้องการใช้ wifi มากขึ้น

โลกที่กำลังเปลี่ยนไป มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี – การก้าวถึงข้อมูลมหาศาล – ประชากรที่มีเพิ่มมากขึ้น – เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ – สร้างโอกาสและความก้าวหน้าได้ การสร้างโอกาสและความก้าวหน้า เช่น หากห้องสมุดถูกตัดงบประมาณไป จาก shapes จะเห็นเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้น มีคนใช้ tablet มากขึ้น ห้องสมุดสามารถสร้างคอร์สการอบรมการใช้ tablet เพื่อหารายได้ทดแทนขึ้นได้ โลกที่กำลังจะเปลี่ยนไป ทำให้องค์กรและผู้ให้บริการต้องปรับตัว และประยุกต์ใช้ให้ได้ เพื่อเป็นโอกาสและสร้างความเข็มแข็งให้กับองค์กรนั้น

สูตรสำเร็จจากอเมริกา การที่จะเป็นห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 นั้น มาจากสูตร

3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ

4 C (Critical Thinking – การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์

ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมีระบบสนับสนุน และมีสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ส่วนบรรณารักษ์ที่เปรียบเสมือนเป็นที่ปรึกษาทางความรู้ จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้วย เพราะกระบวนการเรียนรู้นั้นไม่ใช่เพียงแค่สืบค้นเรื่องเดียวแล้วจบ แต่ควรที่จะแนะนำเพื่อสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งความรู้อื่นได้ด้วย เพราะผู้ใช้จะนึกถึงบรรณารักษ์เพราะความน่าเชื่อถือ ส่วน search engine  ผู้ใช้เพราะใช้เพราะความรวดเร็ว แต่หากบรรณารักษ์ขาดศักยภาพ และยังไม่ปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี เป็นไปได้ว่า ต่อไปผู้ใช้อาจจะมีแนวโน้มที่จะเชื่อ content อย่างสื่อใน facebook หรือ search engine ประเภทอื่นๆได้

IT สำหรับบรรณารักษ์

อนาคตประเทศไทยเป็นไปได้ว่าอาจเกิดห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือเลยสักเล่มอยู่ในห้องสมุด เป็นห้องสมุดดิจิตอลที่มีให้บริการแต่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนดังเช่นห้องสมุดในอเมริกาก็เป็นได้ และเป็นไปได้อีกว่า ต่อไปคนจะถือ tablet มากกว่า notebook  และด้วยข้อมูล ข่าวสาร ที่เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลที่ผู้ใช้แทบจะไม่ต้องวิ่งไปหาที่ไหนเลยและไม่ต้องใช้ความพยายามมากมาย ข้อมูลข่าวสาร แทบวิ่งเข้าหาเราแทน อนาคตอาจจะมีจำนวนผู้ใช้ในห้องสมุดลดลง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ห้องสมุดต้องกลับนำไปคิดต่อไป

เห็นได้ชัดเจนว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ ทำความรู้จักและเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆในโปรแกรมต่างๆและนำไปใช้ให้ถูก

เช่น รู้การใช้อินเตอร์เน็ต การใช้ e-mail, การสืบค้น (search engine) การใช้เว็บ 2.0  เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสาร, การสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์, การนำเสนอ website ห้องสมุด เหล่านี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เกิดจาก

  • คิดบวก
  • วัสดุ ซึ่งบางทีการสังเกตหรือได้จับวัสดุอาจก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้
  • เกิดจากการแก้ปัญหา
  • เกิดจากการลองทำผิด
  • ลองทำวิธีใหม่

บทสรุป นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมา มีแนวคิดทฤษฎีมากมายให้ศึกษาเพิ่มเติม เช่นทฤษฎี The long tail, ทฤษฎี the world is flat, ทฤษฎี web 2.0 เป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้ห้องสมุดนั้นเป็นห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ในยุคแห่งสังคมฐานความรู้ได้อย่างเข้มแข็ง

ไม่มีความเห็น »

RSS feed for comments on this post. TrackBack URL


Leave a Reply

Powered by WordPress | Theme: Siteslike