Feed on
Posts
comments

Archive for the 'Work@Work' Category

จากการที่ได้เข้าร่วมการอบรมทางไกลผ่านดาวเทียม (NTU) เรื่อง การจัดการกับ “เวลา” อย่างไรให้ได้ “งาน” ณ ห้องมินิเธียร์เตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วันที่ 19 เมษายน 2555  โดย วิทยากร ดร.พรเกษม กันตามระ ดิฉันขอสรุปเนื้อหาแบบเล่าให้ฟัง ดังนี้ ทฤษฎีการบริหารเวลาตามกรอบแนวคิดของ Stephen R. Covey โดยแบ่งตารางการบริหารงานเป็น 4 ช่อง ตามกิจกรรม ดังนี้ ช่องที่ 1 สำคัญและด่วน ลักษณะของงานสำคัญและด่วน เช่น งานที่เป็นวาระเร่งด่วนขององค์กร ปัญหาที่ไม่คาดคิด โครงงานที่มีเส้นตาย เหตุฉุกเฉินต่างๆ กล่าวคือถ้าไม่ทำทันที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กร ผลลัพธ์ หากมีงานในส่วนนี้มากเกินไป จะเกิดความเครียด เหนื่อยล้า มีแต่เรื่องฉุกเฉินตลอดเวลา ไร้ประสิทธิภาพและไร้ประสิทธิผล ช่องที่2 สำคัญแต่ไม่ด่วน ลักษณะงานจะเกี่ยวข้องกับการป้องกัน การสร้างสมรรถภาพ การสร้างความสัมพันธ์ การวางแผน การพักผ่อน งานในส่วนนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะจะทำให้งานในช่องที่ [...]

Read Full Post »

ความสำคัญของการจัดทำแผน คือการระดมความคิด การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การช่วยกันให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การสรุปกระบวนการทำงานร่วมกัน การนำเสนอผลการระดมความคิด และการระดมสมอง การระดมสมองให้ประสบความสำเร็จ การเตรียมข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเชื่อมโยง ทั้งในงานของตนเอง และงานที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปประเด็น เพื่อนำเสนอ การยอมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้อื่น การรายงานให้รวดเร็วทันการณ์ เพื่อตรวจสอบรายงาน ให้ถูกต้องตรงกัน ผลพลอยได้จากการระดมความคิด คือการเข้าใจความคิดของผู้อื่นมากขึ้น

Read Full Post »

ความสำคัญในการเตรียมข้อมูล การที่จะทำสิ่งใดๆ ก็ตามจะต้องมีการเตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้ เพื่อจะได้มีเนื้อหาไปแลกเปลี่ยนกัน ดังนั้นก่อนที่เราจะเริ่มทำข้อตกลงกันในเรื่องใดๆ สิ่งที่สำคัญที่จะต้องเตรียมการก็คือ ประเด็นที่จะพูดคุย ข้อยุติที่ต้องการ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้จัดเตรียมข้อมูลเพื่อมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้อย่างเป็นประสิทธิผล ดังนั้นการเตรียมข้อมูลจึงมีความสำคัญมาก นอกจากจะทำให้มีข้อยุติที่มีคุณภาพแล้ว ยังสามารถประหยัดเวลาลงไปได้เป็นอันมาก เราจะเตรียมข้อมูลอะไร อย่างไร เราต้องศึกษาวัตถุประสงค์ที่ถูกตั้งไว้ก่อนที่จะไปแลกเปลี่ยน ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลปัญหาและอุปสรรค ข้อมูลข้อเสนอแนะ และข้อมูลเชิงลึก (บางกรณีสำคัญมาก) ร่างกรอบและขอบเขตของข้อมูล ที่ได้ศึกษาวัตถุประสงค์ เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ กล่าวคือ เราจะต้องคาดเดาว่าเขาจะถามอะไร เราจะต้องเสนอข้อมูลคำตอบอย่างไร เตรียมทำการบ้านเพื่อให้การแลกเปลี่ยนสัมฤทธิ์ผล ก่อนที่จะเดินทางไปทำกิจกรรมใด คุณมีข้อมูลเพียงพอแล้วหรือยัง เพื่อจะไปทำกิจกรรมนั้นๆ 

Read Full Post »

« Prev - Next »